Social Icons

ข้าวเม่าไข่ปลา


ข้าวเม่าไข่ปลา

ชื่อวิทยาศาสตร์: Antidesma ghaesembilla Gaertn

วงศ์: STILAGINACEAE

ชื่ออื่น: กูแจ (มลายู นราธิวาส);ขะเม่าผา;มะเม่า (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ);มะเม่าข้าวเบา (ชุมพร);มังเม่า (กาญจนบุรี);เม่าทุ่ง (ชุมพร)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น: เม่าไข่ปลาเป็นไม้พุ่มต้นขนาดกลาง สูง 6 8 เมตร เปลือกต้นสีเทาดำ กิ่งอ่อน ยอดอ่อนมีขน ใบ: ใบขนาด 4-10 x 2-5 เซนติเมตร รูปไข่ ปลายป้านหรือมีติ่งที่ปลายทั้งสองด้าน ใบอ่อนสีชมพูมีขน ใบแก่สีเขียว ไม่มีขนหรือมีขนห่างๆ ด้านล่างและบนเส้นใบด้านบน เส้นใบข้างโค้ง 6-7 คู่ ก้านใบ 0.2-1.2 เซนติเมตร มีขนสีแดงขณะยังอ่อน ดอก: ดอกสีเขียวออกเหลือง คล้ายดอกพริกไทย ออกเป็นช่อสีเทา เกสรมีขาว มีกลิ่นเล็กน้อย เรียงห่างๆบนก้านชูที่ตั้งตรง มี 2-8 ช่อ ช่อยาว 3-10 เซนติเมตร ดอกย่อยไม่มีก้าน ชั้นกลีบเลี้ยงมี 4-5 พู หมอนรองดอกมีต่อม 4-5 เกสรตัวผู้ 4-5 อัน รังไข่เป็นหมัน ดอกตัวเมีย 2-3 มิลลิเมตร ก้านดอก 0.5 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยง 0.9 มิลลิเมตร ปลายเกสรตัวเมีย 3-4 แฉก หมอนรองดอกรูปถ้วยมีขนยาว ผลคล้ายพริกไทย แต่ขนาดเล็ก ผลอ่อน สีเทา แต่พอสุกสีเทาดำ ผลขนาด 0.3-0.5 เซนติเมตร กลมหรือแบนเล็กน้อย มีขนปกคลุม ด้านบนมีติ่งเล็กๆ
รสชาติ ยอดมีรสฝาดอมเปรี้ยวและมันใช้รับประทานเป็นผักเหนาะ ส่วนผลสุก หวานอมเปรี้ยว

ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์
เมล็ด หรือต้นอ่อน

สรรพคุณทางสมุนไพร
ต้น ราก ขับปัสสาวะ แก้กระษัย บำรุงไต แก้มดลูกพิการ แก้ตกขาว แก้เส้นเอ็นพิการ แก้ป่วยเมื่อยตามร่างกาย แก้มลูกซ้ำบวม แก้มดลูกซ้ำบวม ขับโลหิตและน้ำคาวปลา ผลสุกกินแก้คอแห้ง แก้กระหายน้ำ
ใบและผล ต้มน้ำอาบ แก้อาการโลหิตจาง ซีด เลือดไหลเวียนไม่ดี

นิทานสอนเด็ก นิทานอีสป นิทานก่อนนอน

สถิติการเข้าชม