Social Icons

ฝาง

ฝาง
ชื่อสามัญ Sappan - wood, Indian red - wood, Brazilwood.
ชื่อวิทยาศาสตร์  Caesalpinia sappan L.
ชื่อวงศ์  ถั่ว LEGUMINOSAE - CAESALPINIOIDEAE
ชื่ออื่น : ฝางเสน, หนามโค้ง (แพร่) ฟักข้าว (ภาคกลาง) ขี้กาเครือ (ปัตตานี) ผักขาว (ภาคเหนือ) พุคู้เด๊าะ (กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้นไม้ เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้เถา ที่มีหนามโค้ง ๆ แข็ง ๆ ทั่วไปทั้งลำต้น ผลัดใบแต่ผลิใบไว จะแตกขึ้นเป็นกอหรือแตกแขนงชิดหรือเกือบชิดพื้น สูง 8 - 10 ม. ตามลำต้นและกิ่งมีหนามแข็ง โค้งทั่วไป ถ้าปล่อยตามธรรมชาติจะกลายเป็นไม้เถาขนาดใหญ่ เลื้อยพาดเกาะไม้อื่นไปได้ถึง 10 ม. เรือนยอดรกสับสน แต่แผ่กระจายให้ร่มเงาได้ ถ้าตัดแต่งช่วยจะให้เรือนยอดเป็นพุ่มได้ตามต้องการ เปลือกนอก สีเทาออกเหลือง มีปมใหญ่ขนาดปลายนิ้วชี้ทั่วไปทั้งเถา ส่วนปลายมีหนามแหลมสีดำ ถ้าปมหนามหลุดจะเป็นรอยแผลเป็น เปลือกในสีขาอมชมพู
     ใบ เป็นช่อแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับกัน ช่อใบยาว 15 - 45 ซม. มีช่อแขนงแตกออกตรงข้ามกันทางด้านข้าง 8 - 16 คู่ แต่ละช่อแขนงมีใบย่อยออกตรงข้ามกัน 7 - 18 คู่ ใบย่อยเล็กเป็นฝอยคล้ายใบหางนกยูงไทย รูปขอบขนาน กว้าง 6 - 10 มม. ยาว 10 - 20 มม. ปลายมน เว้าตรงกลางเล็กน้อย โคนเบี้ยว ขนาดไม่เท่ากัน ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ขอบใบเรียบ ใบอ่อน สีเขียวสดใสมาก ใบแก่ สีเขียวเข้ม
     ดอก ออกเป็นช่อ ไม่แยกแขนง ออกใกล้กันตามปลายกิ่งและตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่งก้านดอก ยาว 15 - 20 มม. มีขนประปรายดอกแต่ละช่อเป็นกลุ่มหลายสิบดอก ดอกจะบานจากโคนช่อดอกออกไปยังปลายช่อคล้าย ๆ ราชพฤกษ์ ดอกแต่ละดอกมีกลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ ขอบกลีบเกยซ้อนทับกัน กลีบล่างสุดโค้งงอและมีขนาดใหญ่กว่ากลีบอื่น ๆ กลีบดอก มี 5 กลีบ รูปไข่กลับหรือรูปช้อน ผิวและขอบกลีบย่น ส่วนที่ค่อนมาทางโคนก้านดอก โคนกลีบจะคอดเรียวเป็นก้าน มีขนยาวคลุมจากโคนกลีบถึงกึ่งกลางของกลีบ ดอก สีเหลืองอร่าม มีกลิ่นหอมแรง เกสรผู้ มี 10 อัน ต่างเป็นอิสระแก่กันและกัน มีขนทั่วไป รังไข่ รูปรี ๆ มีขนแน่น ภายในมีช่องเดียวและมีไข่อ่อนมาก
     ผล เป็นฝักแข็ง แบน สีน้ำตาลแก่เป็นจุด ๆ ลักษณะคล้ายฝักถั่วแปบ กว้าง 1.5 - 2.5 ซม. ยาว 6 - 12 ซม. รูปรี ๆ ผลแก่แห้ง สีน้ำตาลปลายฝักมีจะงอยแหลมอยู่ทางมุมด้านนอกแต่ละฝักมี 2 - 4 เมล็ด รูปรี ๆ
     ระยะเวลาในการออกดอกและเป็นผล ออกดอกระหว่างเดือน มิถุนายน - กันยายน และเป็นผลระหว่างเดือน สิงหาคม - กุมภาพันธ์ ในช่วงที่ฝางออกดอก ในป่าจะเห็นเหลืองอร่ามไปทั่ว โดยมีใบสีเขียวสดเป็นพื้น
     การขยายพันธุ์ นิยมใช้เมล็ดเพาะ

สรรพคุณ
แก่น บำรุงโลหิตสตรี แก้ปอดพิการขับหนอง แก้คุดทะราด ทำให้โลหิตเย็น แก้โลหิตออกทางทวารหนักและทวารเบา แก้เลือดกำเดา แก้โรคท้องร่วง แก้ไข้สำปะชวร แก้ไอ รักษาโรคผิวหนังบางชนิด แก้ธาตุพิการ แก้ร้อนแก้เสมหะ รักษามะเร็งเพลิง คุมกำเนิด แก้ไข้ แก้สะอึก แก้หอบ แก้ช้ำ ฟอกโลหิต

          เนื้อไม้ แก้ท้องเสีย แก้บิด ทำให้ประจำเดือนมาตามปกติ แก้ไข้ รักษาโรคทั่วไป เช่น โรคเกิดจากเสมหะ เป็นยาขับระดูอย่างแรง แก้เลือดตกหนัก
          ไม่ระบุส่วนที่ใช้ ขับหนอง รักษาอาโปธาตุไม่ให้ร้อน บำรุงโลหิต แก้ปอดพิการ แก้ลม แก้เสมหะ แก้ดีพิการ ขับเลือด แก้คุดทะราด แก้มุตกิต ระดูขาว แก้คุดทะราด แก้ธาตุพิการ แก้ร้อน แก้โลหิตตกทางทวารหนักและทวารเบา
     ข้อมูลการวิจัยที่สำคัญ สารเคมีที่พบคือ
          ß-amyrin; ß-amyrin-3-O-ß-D-glucoside ; arachidic acid ; aspartic acid ; bonducellin,8-methoxy ; brazilein ; brazilin ; brazilin,3'-O-methyl ; caesalpin J ; caesalpin P ; Caesalpinia chromane 3 ; Caesalpinia chromane 4 ; Caesalpinia chromane 5 ; Caesalpinia chromane 6 ; Caesalpinia sappan compound 2 ; Caesalpinia sappan compound 3 ; capric acid ; caprylic acid ; chalcone,4,4'-dihydroxy-2'-methoxy: ; chroman,3,4,7-trihydroxy-3-(4'-one,3'4'-dihydroxy-benzyl)-4'-hydroxy ;
          chroman-4-one,3,7-dihydroxy-3-(4'-dydroxy-benzyl) ; chroman-4-one,3,9-dehydro: 3-(3', 4'-dihydroxy-benzyl)-4-hydroxy ; chroman-4-one,7-hydroxy-3-(4'-hydroxy-benzylidene) galactose 3, 4,-dimethyl: ; galactose, 4-methyl ; gallic acid ; juglone ; lactose ; linoleic acid ; linolenic acid ; lupeol ; myristic acid ; myristopalmtic acid ; octacosan-1-ol ; oleic acid ; ombuin ; palmiticacid ; palmitoleic acid ; proline ;
          protosappanin A ; protosappanin B, 10-O-methyl ; protosappanin E-1 ; protosappanin E-2 ; querectin ; rhamnetin ; ribose,2-deoxy ; sappanchalcone sappanin ; sappanin A, proto; sappanin B, proto ; suppanin C, proto ; sappanol,3'-O-methyl: ; sappanol, epi: 3'-O'methyl ; sappanone, 3-deoxy ; ß-sitosterol ; sorbose ; stearic acid ; stigmasterol ; tannic acid ; taraxerol ; threonin ; n-triacontane ; tryptophan ; valine ; valine,nor.
     ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
          ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ต้านไวรัส ต้านยีสต์ ยับยั้งการงอกของพืชอื่น ลดการอักเสบ เสริมฤทธิ์ของบาร์บิตูเรท ยับยั้ง hepatitis B surface antigen ยับยั้งเนื้องอก ตกตะกอนน้ำอสุจิ ยับยั้งการหลั่งฮีสตามีน ยับยั้งการแข็งตัวของเลือด กระตุ้นภูมิคุ้มกัน
          ปรับปรุงภูมิคุ้มกัน คลายกล้ามเนื้อเรียบ ยับยั้งการแพ้แบบ anaphylactic กระตุ้นเอนไซม์ gluta-mate-pyruvate-transminase ยับยั้งเอนไซม์ protease (HIV) DNA polymerase phosphodiesterase cyclic nucleotide posphodiesterase เป็นพิษต่อเซลล์

นิทานสอนเด็ก นิทานอีสป นิทานก่อนนอน

สถิติการเข้าชม