Social Icons

เลี่ยน



เลี่ยน

ชื่อสามัญ : Bead Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Melia azedarach

วงศ์ :
MELIACEAE

ชื่ออื่น : เลี่ยน(กลาง) เคี่ยน เฮี่ยน(เหนือ) เกรียน เกษมณี

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
เลี่ยนเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ตระกูลเดียวกันกับสะเดา ลักษณะลำต้นและใบมีความใกล้เคียงกันกับสะเดา มีความสูงประมาณ 20-30 เมตร เป็นต้นไม้ที่มีการเจริญเติบโตเร็ว แตกกิ่งก้านออกไปรอบ ๆ ลำต้นเป็นจำนวนมาก เปลือกผิวลำต้นมีสีน้ำตาล มีแผลเป็นร่องตามยาว ลำต้นเจริญขึ้นตรง ทรงพุ่มกลมรูปกรวยโปร่ง ใบออกเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีใบอยู่ประมาณ 3-5 ใบ ช่อใบยาวประมาณ 12 15 เซนติเมตร ลักษณะของใบย่อย ปลายใบแหลมเรียวโคนใบสอบขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย บนใบเกลี้ยงสีเขียวส่วนล่างของใบมีขนสีเขียวอ่อนเห็นเส้นใบชัด ขนาดความกว้างของใบประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ เป็นกระจุกใหญ่ออกตามปลายกิ่งที่ง่าม ใบ ดอกมีฐานรองดอกเล็กมีกลีบดอก 5-6 กลีบ ดอกมีสีม่วงอ่อนหรือสีฟ้า กลิ่นหอม ผลกลม รี สีเขียวมีขนาดโตประมาณ 0.5 เซนติเมตร เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 4-5 เมล็ด
การขยายพันธุ์ : เมล็ด การตอน และ การปักชำ
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ใบ ดอก ผล เปลือกต้น และ เปลือกราก

สารสำคัญ :
เปลือกต้น มีสารอัลคาลอยด์ Margosine และ Tannin เปลือกรากและผลมีอัลคาลอยด์ประเภท Azaridine ซึ่งเป็นสารพิษ ประเภท Bakayanin และ Margosin เมล็ดมี 60% ของไขมัน
สรรพคุณทางยาสมุนไพร
 ใบ น้ำคั้นจากใบสดใช้เป็นยาขับพยาธิ บำรุงธาตุ ขับระดู ขับปัสสาวะ แก้โรคนิ่ว
 เปลือกต้นและเปลือกราก ทำให้อาเจียน ขับถ่ายพยาธิตัวกลม รักษาโรคไข้มาลาเรีย รักษาโรคผิวหนัง ฆ่าเหา
 ดอก ใช้ทาแผลผุพอง จากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือ ใช้ดอกเลี่ยน 1 ช่อ มาล้างให้สะอาดแล้วนำไปตำให้แหลกผสมกับน้ำมันมะพร้าวเล็กน้อย เอามาทาบริเวณที่มีการคันจากโรคผิวหนัง วันละ 3 ครั้ง จนกว่าจะหาย
ผล ใช้น้ำมันจากผลทารักษาโรคทางผิวหนัง
ข้อควรระวัง  ผลเป็นพิษต่อคน สัตว์บางชนิด และ ปลา โดยจะทำให้เกิดอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร ทำให้อาเจียน และ ท้องเดินได้

นิทานสอนเด็ก นิทานอีสป นิทานก่อนนอน

สถิติการเข้าชม