Social Icons

เดือย



เดือย

ชื่อสามัญ : Pearl barley Adlay Ma Yuen (จีน)

ชื่อวิทยาศาสตร์  Coix lacryma-jobi L.

ชื่อวงศ์  Poaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เดือยเป็นธัญพืชตระกูลหญ้า (Gramineae) มีโครโมโซม 2n = 20 ลักษณะการเจริญเติบโตคล้ายพืชในตระกูลเดียวกัน เช่น ข้าวหรือข้าวฟ่าง เดือยที่ปลูกจาก 1 เมล็ดจะแตกกอ เมื่ออายุประมาณ 2 เดือน ได้ 4-5 แขนง ต้นเดือยมีความสูงตั้งแต่ 1-3.5 เมตร ใบ
ขนาด 20-45 x 2.5-5 เซนติเมตร  ติดอยู่กับกาบใบที่หุ้มลำต้น ปลายใบเรียวแหลม แผ่นใบมีลักษณะ คล้ายใบหอก(lanceolate) เส้นกลางใบเป็นร่องยาวไปตามความยาวของใบ
ช่อดอก
แตกขึ้นไปจากซอกใบที่อยู่บริเวณของกิ่ง  ช่อดอกยาว3-8 เซนติเมตร  เดือยจะมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียบนช่อเดียวกัน
ดอก
โครงสร้างสลับซับซ้อน แปลกและน่าท่งกว่าดอกของพืชชนิดอื่นๆ  ก้านดอกจะรองรับกระเปราะที่จะพัฒนาต่อไปเป็นที่บรรจุผล หรือเมล็ด  ภายในกระเปาะบรรจุดอกตัวเมีย 1 ดอก และก้านชูเกสรตัวเมียสีแดงคล้ำ 2 อัน ซึ่งจะยื่นโผล่ออกมาจากกระเปาะ เพื่อรอรับการผสม
กระเปาะ
เป็นที่กำเนิดของก้านชูช่อดอกตัวผู้ที่โผล่ออกไปอยู่เหนือกระเปาะ ช่อดอกตัวผู้จะมีดอกตัวผู้อยู่ประมาณ 10 ดอก แต่ละดอกมีความยาว 7-8 เซนติเมตร รูปร่างคล้ายสีเหลี่ยมขนมเปียกปูนเรียวๆ ดอกจะร่วงเมื่อแก่ มักจะเกิดเป็นคู่ มีกาบดอกชั้นนอก (glume) 2 อัน ภายในมีกลีบดอกชนิดlemma 1 อัน และ palea ที่เล็กกว่า 1 อัน มีอับเกสร ตัวผู้ 3 อัน
เมล็ด
เกิดจากการผสมเกสร รังไข่จะเจริญไปเป็นผลปลอม (false fruit) หรือเมล็ด  เมื่อมองด้านหน้าจะคล้ายรูปหัวใจ มองด้านบนจะคล้ายเมล็ดถั่ว ที่มีร่องเว้าเข้าไปตรงกลาง แต่ร่องจะลึกกว่า
มีความยาว 8-12 มิลลิเมตร  เนื้อของผลและเมล็ดจะหลอมเป็นเนื้อเดียวกันจนแยกไม่ออก (caryopsis)  เยื่อหุ้มเมล็ดมีสีน้ำตาลแดง น้ำตาลเข้ม หรือน้ำตาลอ่อน  เดือยส่วนใหญ่เป็นพืชที่ไวต่อช่วงแสง โดยจะออกดอกในช่วงที่มีแสงน้อยกว่า 12 ชั่วโมง ประมาณเดือนกันยายน ส่วนใหญ่จะผสมข้าม เนื่องจากดอกตัวผู้และดอกตัวเมียบานไม่พร้อมกัน
สรรพคุณทางสมุนไพร
ลูกเดือย ซึ่งมีรสจืดนั้นมีฤทธิ์เป็นยาเย็น ช่วยบำรุงกำลัง หล่อลื่นกระเพาะอาหารและลำไส้ บำรุงปอด ม้าม ตับ ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไข้ แก้ท้องเสีย แก้ทางเดินหายใจ เหน็บชา แก้ปวดเข่า ปวดข้อ ไขข้ออักเสบ แก้ชักกระตุก บวมน้ำ ปอดอ่อนแอไอเป็นเลือด ฝีที่ลำไส้ แก้อาการ ตกขาวผิดปกติ ช่วยย่อยอาหาร บำรุงเส้นผมและผิวหนัง แก้ร้อนในกระหายน้ำ ลดการเกิดกระ รักษาโรคหูด ลดการ เกิดมะเร็ง เพราะมีสารคอกซีโนไลด์ (coxenolide)ที่มีสรรพคุณในการยับยั้งการเกิดเนื้องอก
มีปริมาณโปรตีน 13.84% คาร์โบ-ไฮเดรต 70.65% เยื่อใย 0.23% ไขมัน 5.03% แร่ธาตุต่างๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะฟอสฟอรัส ซึ่งช่วยบำรุงกระดูก มีอยู่ในปริมาณสูง รวมทั้งวิตามินเอ ที่ช่วยบำรุงสายตา วิตามินบี 1 และวิตามินบี 2 โดยเฉพาะวิมามินบี 1 มีในปริมาณ มาก (มีมากกว่าข้าวกล้อง) ซึ่งช่วยแก้โรค เหน็บชาด้วย
ลูกเดือยยังมีกรดไขมันจำเป็นชนิดที่ไม่อิ่มตัวด้วย เช่น กรดโอเลอิค และกรดลิโนเลอิก รวมแล้วถึง 84% และเป็นกรดไขมันชนิดอิ่มตัว คือ ปาล์มิติ และสเตียริก เพียง 16% เท่านั้น

นิทานสอนเด็ก นิทานอีสป นิทานก่อนนอน

สถิติการเข้าชม