Social Icons

กระเชา


clip_image002
กระเชา

ชื่อวิทยาศาสตร์ 
Holoptelea integrifolia Planch.

ชื่อวงศ์  
Ulmaceae

ชื่ออื่น  
กระเจาหรือกระเจ้า (ภาคกลาง); กะเซาะ (ราชบุรี), กาซาว (เพชรบุรี), ขะจาว, ขะจาวแจง, ฮังคาวหรือฮ้างคาว (ภาคเหนือ); พูคาว (นครพนม), มหาเหนียว (นครราชสีมา)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
clip_image006clip_image004
ไม้ต้น ผลัดใบ ขนาดใหญ่ สูงได้ประมาณ 30 เมตร เปลือกแตกเป็นสะเก็ดหนาเป็นคอร์ก สีเทา หูใบรูปใบหอก ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปรีหรือรูปไข่กลับ ยาว 7-14 ซม. โคนใบเบี้ยวมนหรือเว้าเล็กน้อย ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบหรือจักซี่ฟันห่างๆ แผ่นใบด้านล่างมีขนสั้นนุ่ม ขยี้มีกลิ่นเหม็น ก้านใบสั้น ๆ ยาว 0.5-1 ซม. ช่อดอกออกเป็นกระจุกสั้น ๆ ตามซอกใบ ดอกขนาดเล็ก สีเขียวอ่อน เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล มีขนสั้นนุ่ม ดอกแยกเพศหรือมีดอกสมบูรณ์เพศอยู่บนช่อเดียวกัน มีวงกลีบเดียว ส่วนมากมี 4 กลีบ เกสรเพศผู้เท่าจำนวนกลีบ รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มี 2 คาร์เพล์ เกสรเพศเมีย 2 อัน ผลแบบผลย่อยเปลือกแข็งมีปีก (winged nutlet) ปีกบางล้อมรอบ เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2.5 ซม. รวมปีก ปลายเป็นติ่งคล้ายง่าม เมล็ดแบน กระเชามีเขตการกระจายพันธุ์ที่ อินเดีย ศรีลังกา พม่า และภูมิภาคอินโดจีน ในไทยขึ้นกระจายตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งแทบทุกภาคของประเทศ ยกเว้นภาคใต้ ชอบขึ้นชายน้ำ ระดับความสูงจนถึงประมาณ 400 เมตร 

 สรรพคุณทางสมุนไพร
ใบและเปลือกต้นมีกลิ่นเหม็นใช้ปรุงเป็นยาแก้ปวดข้อ ยาแก้โรคเรื้อน ยากำจัดเห็บ หมัด และโรคผิวหนังพวกกลากเกลื้อน

นิทานสอนเด็ก นิทานอีสป นิทานก่อนนอน

สถิติการเข้าชม