Social Icons

สะบ้าลิง

สะบ้าลิง
clip_image002 clip_image004
ชื่ออื่น
มะบ้าวอก (เหนือ), ผักตีนแลน, มะบ้าลิง (เชียงใหม่), มะบ้าปน (เชียงใหม่, ลำพูน), ทบทวน, ลิ้นแลน, มะขามเครือ (ชัยภูมิ), หมากแทน (ยโสธร), บ้าบนใหญ่ (อุบลราชธานี), สะบ้าลาย (กลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Entada glandulosa Pierre ex Gagnep.
ชื่อวงศ์
Leguminosae -Mimosoideae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้เถาเนื้อแข็ง เลื้อยพาดพันต้นไม้ใหญ่ กิ่งมีขน ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ปลายใบคู่ เรียงสลับ ช่อใบประกอบที่มีใบย่อย 2 คู่ ใบประกอบคู่ปลายเปลี่ยนรูปร่างเป็นมือเกาะ ใบย่อยมี 5-8 คู่ เรียงตรงข้าม รูปวงรีถึงรูปขอบขนาน กว้าง 0.5-1.7 เซนติเมตร ยาว 1.2 – 4 เซนติเมตร ฐานใบเบี้ยวเล็กน้อย ปลายใบกลมมีติ่ง ขอบใบเรียบมีขน ผิวใบด้านบนมีขน ผิวใบด้านล่างเกลี้ยง ก้านใบยาว 1.8-4 ซม. แกนกลางใบประกอบยาว 4.5-10 ซม. ดอกช่อกระจะเชิงลด ออกที่ซอกใบและเหนือซอกใบ ยาว 7-12 เซนติเมตร มีขนละเอียด ก้านดอกย่อยเกือบไร้ก้าน กลีบดอกสีขาวแกมเหลือง มี 5 กลีบ ยาว 4.5-5.5 มม. ด้านนอกช่วงล่างมีแนวต่อมขนาดเล็ก 2 แนว รูปขอบขนานแกมรูปหอก ปลายแหลม ขอบเรียบ โคนเชื่อมกัน ปลายแยก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ผิวด้านนอกมีขนละเอียด ผิวด้านในเกลี้ยง ยาวประมาณ 2-2.5 มม. ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปสามเหลี่ยมตื้นๆ เกสรเพศผู้มี 10 อัน เชื่อมกันที่ฐาน ยาว 9 อัน สั้น 1 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 1 ซม. หรือยาวกว่าเล็กน้อย เกสรเพศเมีย มีรังไข่เหนือวงกลีบ ผิวเรียบ รังไข่เกลี้ยง ยาวประมาณ 3 มม. ผลเป็นฝัก รูปขอบขนาน โค้งงอ สีน้ำตาล ยาวได้ถึง 35 ซม. กว้าง 2.2-2.6 ซม. มีรอยเว้าระหว่างเมล็ด ผนังด้านนอกค่อนข้างหนา เมื่อแก่หักเป็นท่อนๆ แต่ละท่อนมี 1 เมล็ด รูปเกือบกลม แบน เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.8 ซม. เปลือกนอกแข็งสีน้ำตาลดำ พบตามป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ระดับความสูงไม่เกิน 500 เมตร ออกดอกราวเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม
สรรพคุณทางสมุนไพร ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ เมล็ด หรือราก ฝนเหล้าทา และฝนน้ำกิน แก้โรคผิวหนัง และแผลเรื้อรัง ทั้งต้น ผสมในลูกประคบ แก้ปวดข้อ ปวดเมื่อย
ตำรายาไทย เนื้อในเมล็ดดิบ รสเบื่อเมา แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน โรคเรื้อน คุดทะราด มะเร็ง เป็นยาเบื่อเมา ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ถ้าสุมไฟให้ไหม้เกรียมดำผสมกับยาอื่นๆรับประทานแก้ไข้พิษเซื่องซึม

นิทานสอนเด็ก นิทานอีสป นิทานก่อนนอน

สถิติการเข้าชม