Social Icons

ปอบิด หรือ ปอกะบิด

imageimage
ชื่อวิทยาศาสตร์   Helicteres isora L.
ชื่อวงศ์   Malvaceae
ชื่ออื่น   มะบิด (ภาคเหนือ) ปอทับ (เชียงใหม่) ช้อ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) ข้าวจี่ (ลาว) ห้วยเลาะมั่ว (จีนแต้จิ๋ว) หั่วลั่งหมา (จีนกลาง) มะปิด
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ปอบิดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 1-3 เมตร มีขนสีน้ำตาลปกคลุมทั่วทุกส่วน ลำต้นกลม เรียว อ่อนคล้ายเถา บริเวณส่วนเปลือกมีสีเทาและมียางเหนียว ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ แผ่นใบสาก ท้องใบจะมีขน
กว้าง 2.5-3.5 นิ้ว ยาว 4-8 นิ้ว ม้วนเว้าเข้าหากัน ขอบใบหยักเป็นแบบฟันปลา ดอกจะมีสีส้มหรือสีแดงอิฐ จะออกเป็นกระจุกระหว่างต้นกับใบ กระจุกละประมาณ 2-3 ดอก แต่ละดอกมีใบประดับขนาดเล็กรองรับ
มีกลีบรองกลีบดอกสีเหลือง มีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบคู่บนมีขนาดใหญ่กว่ากลีบอื่น ปลายกลีบมน มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย เกสรตัวผู้มีสีเหลือง มี 10 อันเชื่อมรวมกับก้านของเกสรตัวเมีย ผล มีลักษณะเป็น
ฝักยาว กลม บิดเป็นเกลีบวมีทั้งบิดซ้ายและบิดขวา ยาว 3-4 เซนติเมตร ออกผลประมาณเดือนธันวาคม-มกราคม เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลหรือสีดำ แก่เต็มที่ฝักจะอ้าออก

สรรพคุณทางสมุนไพร

ราก ใช้ต้มเอาน้ำกิน รสฝาดเฝื่อน บำรุงธาตุ แก้ท้องร่วง แก้บิด ขับเสมหะ แก้ปวดเคล็ดบวม โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิต ปอบิดจะมีผลลดน้ำตาลในเลือดได้ใกล้เคียงกับยาแผนปัจจุบัน แต่ยังไม่สามารถทดแทนยารักษาเบาหวานได้จริง
เปลือกลำต้น ใช้เปลือกลำต้นนำมาต้มเป็นยาแก้โรคบิด ท้องร่วง และเป็นยาบำรุงธาตุ
ฝัก แก้บิด แก้ปวดท้อง แก้โรคลำไส้ในเด็ก
แก่น รสจืดเฝื่อน บำรุงน้ำเหลือง บำรุงกำลัง แก้เสมหะ แก้น้ำเหลืองเสีย
ผล ใช้ผลแห้ง 10-15 กรัม มาต้มเอาน้ำกินแก้ท้องอืด แก้ปวดเคล็ดบวม แก้เสมหะ แก้ลงแดง กระเพาะอาหารเป็นแผล อักเสบ หรือเรื้อรัง
วิธีกินปอกะบิด ให้นำฝักปอกะบิดไปต้มในน้ำร้อน 25 ฝักต่อน้ำ 1.5 ลิตร ใช้เวลาต้มประมาณ 20 นาที แล้วเอาน้ำมาดื่มเป็นชา โดยดื่มได้ทั้งร้อนและเย็น (ฝักปอกะบิดที่นำไปต้ม สามารถต้มได้ถึง 4 ครั้งหรือจนกว่าสีจะจางแล้วค่อยเปลี่ยน)
มีงานศึกษาวิจัยที่สรุปว่า สารสกัดจากผลปอกะบิดสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูทดลอง และช่วยป้องกันไม่ให้ระดับไขมันสูงขึ้นได้จริง แม้ว่าผลการทดลองจะสรุปว่ามันสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่ก็ยังไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนยารักษาโรคเบาหวานได้จริง จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องความเป็นพิษ ทั้งนี้มีสมุนไพรจำนวนไม่น้อยที่มีพบว่ามีความเป็นพิษต่อตับและไต หากขนาดการใช้ไม่ถูกต้องหรือเหมาสม ซึ่งในกรณีที่ยังไม่มีข้อมูลครบถ้วนเช่นนี้ การนำมาใช้ก็อาจจะเป็นอันตรายต่อตับและไตได้ เพราะฉะนั้นผู้ที่มีประวัติหรือบุคคลคนในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคตับและไต ห้ามรับประทาน
ประโยชน์ของปอกะบิด
1. ปอกะบิด สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง (แก่น)
2. สมุนไพรปอกะบิด ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ ด้วยการใช้รากนำมาต้มเอาน้ำดื่ม หรือจะใช้เปลือกต้นนำมาต้มเป็นยารับประทาน (ราก,เปลือกต้น)
3. แก้อาการลงแดง ด้วยการใช้ผลแห้งประมาณ 10 กรัมนำมาต้มเอาน้ำดื่มแก้อาการ (ฝักแห้ง)
4. สรรพคุณปอกะบิดช่วยแก้เสมหะ ด้วยการใช้รากนำมาต้มเอาน้ำดื่ม หรือจะใช้ผลแห้งประมาณ 10 กรัมนำมาต้มเอาน้ำดื่มแก้อาการ (ราก,แก่น,ผลแห้ง)
5. ช่วยแก้ธาตุพิการ (ราก,เปลือก)
6. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้รากนำมาต้มเอาน้ำดื่ม (ราก)
7. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิต (ราก)
8. ช่วยรักษาโรคลำไส้ในเด็ก (ฝัก)
9. ช่วยบำรุงน้ำเหลือง แก้น้ำเหลืองเสีย (แก่น)
10. ประโยชน์ของปอกะบิด ช่วยแก้อาการปวดท้อง (ฝัก)
11. แก้โรคบิด ด้วยการใช้รากนำมาต้มเอาน้ำดื่ม หรือจะใช้เปลือกต้นนำมาต้มเป็นยารับประทาน (ราก,เปลือกต้น,ฝัก)
12. แก้อาการท้องร่วง ด้วยการใช้รากนำมาต้มเอาน้ำดื่ม หรือจะใช้เปลือกต้นนำมาต้มเป็นยารับประทาน (ราก,เปลือกต้น)
13. สมุนไพรปอกะบิดสรรพคุณช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ด้วยการใช้ผลแห้งประมาณ 10 กรัมนำมาต้มเอาน้ำดื่มแก้อาการ (ฝักแห้ง)
14. ประโยชน์ปอกะบิดใช้เป็นยาฝาดสมาน (ฝัก)
15. ฝักปอกะบิด สรรพคุณช่วยรักษาแผล อาการอักเสบเรื้อรังในกระเพาะอาหาร ด้วยการใช้ผลแห้งประมาณ 10 กรัมนำมาต้มเอาน้ำดื่มแก้อาการ (ฝักแห้ง)
สรรพคุณปอกะบิด ใช้แก้อาการปวดเคล็ดบวม ด้วยการใช้รากนำมาต้มเอาน้ำดื่ม หรือจะใช้ผลแห้งประมาณ 10 กรัมนำมาต้มเอาน้ำดื่มแก้อาการ (ราก,ฝักแห้ง)

นิทานสอนเด็ก นิทานอีสป นิทานก่อนนอน

สถิติการเข้าชม