Social Icons

ก้นถ้วยใหญ่(โทะ)

imageimage

ชื่อวิทยาศาสตร์   Rhodomyrtus tomentosa Wight
ชื่อวงศ์               Myrtaceae
ชื่ออื่น                ง้าย ชวด พรวด พรวดใหญ่ พรวดผี พรวดกินลูก กาทุุ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูง 1-4 เมตร ทรงพุ่มกลม เปลือกลอกเป็นแผ่นบางๆ กิ่งอ่อนยอดอ่อน แผ่นใบด้านล่าง ก้านใบ ช่อดอก ก้านดอก กลีบเลี้ยง กลีบดอกด้านนอก และผล มีขนสั้นหนานุ่มสีเทา ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปรีถึงรูปขอบขนาน กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 5-10 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ผิวใบด้านล่างมีขนสีขาวเป็นปุย ปลายใบทู่ โคนใบสอบ ขอบเรียบม้วนลงเล็กน้อย มีเส้นใบสามเส้นจากโคนจรดปลายใบ ก้านใบยาว 5 มิลลิเมตร แผ่นใบค่อนข้างหนา เส้นแขนงใบข้างละ 1 เส้น ออกจากโคน เรียงโค้งจรดกันเป็นเส้นขอบใบ ดอกออกเดี่ยว หรือช่อกระจุกซ้อน ออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง ก้านช่อยาวประมาณ 1-2 ซม. ก้านดอกยาวประมาณ 1.5 ซม. กลีบดอก มี 5 กลีบ สีม่วงแกมชมพู ดอกแก่สีขาว กลีบรูปไข่กลับเกือบกลม ยาว 1.5-2 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางดอก 3-4 เซนติเมตร ฐานรองดอกรูปถ้วย รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ก้านชูอับเรณูสีแดง ยาว 0.7-1 ซม. อับเรณูปลายมีต่อมขนาดเล็ก ก้านเกสรเพศเมียยาว 1-1.5 ซม. โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ยาวประมาณ 1 ซม. ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบยาวประมาณ 6 มม. สองกลีบในยาวกว่ากลีบนอกเล็กน้อย ปลายกลีบมน ติดทนผลสดสีเขียวด้านๆ เมื่อแก่สีม่วงคล้ำถึงดำ รูปกลมแกมรี หรือเกือบกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 เซนติเมตร มีขนสั้นๆ หนานุ่มสีเทาปกคลุม กลีบเลี้ยงติดทน เนื้อผลสุกสีม่วง นุ่ม หวาน มีเมล็ดมาก เมล็ดสีน้ำตาล รูปไต กว้าง 2 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร มีปุ่มกระจาย พบตามบริเวณดินทราย และบริเวณป่าพรุ ตั้งแต่ระดับต่ำจนถึงระดับความสูงประมาณ 1,300 เมตร ออกดอกราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมและติดผลราวเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม
สรรพคุณทางสมุนไพร
ราก ต้มกินเป็นยารักษาอาการปวดหลัง ปวดข้อ ปวดเอว รักษาการติดเชื้อที่ผิวหนัง หรือผิวหนังพุพอง ใบ ใช้ตำแปะฝี ยาต้มจากใบ ใช้ทำความสะอาดแผล เพื่อฆ่าเชื้อโรค

นิทานสอนเด็ก นิทานอีสป นิทานก่อนนอน

สถิติการเข้าชม