Pages

วิธีการเตรียมสมุนไพร

วิธีการเตรียมยาสมุนไพร
เมื่อได้ส่วนของสมุนไพรที่พร้อมเป็นยาแล้ว เราควรทราบวิธีปรุงยาสมุนไพรเพื่อเป็นการเตรียม ยาสมุนไพรให้มีรูปแบบที่เหมาะสมเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรค ใช้ได้สะดวก มีรสและกลิ่น ชวนรับประทาน รูปแบบยาสมุนไพรบางอย่าง เช่น ยาลูกกลอน ยาดอง ยังเป็นรูปแบบที่ช่วยให้เก็บสมุนไพรไว้ใช้เป็นยาได้เป็นเวลานาน กรรมวิธีปรุงยาแผนโบราณที่ปรากฏในตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์และตำรา เวชศึกษาอันเป็น ตำราสำคัญของการแพทย์ของการแพทย์แผนไทย มีวิธีปรุงยาทั้งหมด 23 วิธี และเมื่อพ.ศ. 2510 กระทรวงสาธารณสุข
ได้กำหนดวิธีการปรุง ยาแผนโบราณเพิ่มขึ้นอีก 1 วิธี รวมเป็น 24 วิธี ตัวอย่างเช่น
ยาตำรา เป็น ผงแล้วปั้นเป็นลูกกลอน ยาตำเป็นผงแล้วบดให้ละเอียด ละลายน้ำกระสายต่าง ๆ กัน ยากัดด้วยเหล้าหรือแอลกอฮอล์หยดลงน้ำกิน เป็นต้น กรรมวิธีเหล่านี้บางวิธีใช้ในการ เตรียมและการปรุงยาแผนปัจจุบันเช่นกัน วิธี การเหล่านี้เป็นวิธีการง่าย สามารถประยุกต์ใช้ด้วยตนเองได้ ในที่นี้ขอแนะนำกรรมวิธี ปรุงยาสมุนไพร ที่ใช้ บ่อย 6 วิธี
 -
ยาชง ยาชงเป็นรูปแบบที่มีการเตรียมคล้ายการชงชา โดยใช้น้ำเดือดใส่ลงในสมุนไพร โดยทั่วไปมักใช้   สมุนไพรตากแห้งทำเป็นยาชง ส่วนของสมุนไพร ที่ใช้เป็นยาอาจเป็นใบ กิ่ง ผล หรือเมล็ด หั่นเป็นชื้นเล็ก ๆ   หรือบดเป็นผลหยาบ ผึ่งแดดให้แห้งบางชนิดมีการนำไปอบกลิ่นหอมก่อน ภาชนะที่ใช้ชง ควรเป็นกระเบื้อง   แก้ว หรือภาชนะเคลือบไม่ใช้ ภาชนะโลหะ วิธีการชงทำได้โดยใช้สมุนไพร 1 ส่วน เติมน้ำเดือดประมาณ  10 ส่วน หรือตามปริมาณที่ระบุไว้ในตำรับยาบางตำรับอาจเติม น้ำตาลหรือน้ำผึ้ง ในการปรุง รส ปิดฝาทิ้ง  ไว้  5 – 10 นาที ยาชงเป็นรูปแบบยาที่มีกลิ่นหอม ชวนดื่ม ดื่มง่าย ปัจจุบันมีการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ยาชง   โดยการบรรจุในถุง กระดาษเหนียว ปิดสนิท 1 ซอง ใช้ 1 ครั้ง พืชสมุนไพรที่ ใช้รูปแบบยาชงมักเป็นพืช
    ที่มีสรรพคุณไม่รุนแรง ใช้ดื่มตลอดวันแทนน้ำ ยาชงนิยมปรุงและดื่มทันที ไม่ทิ้ง ไว้นาน สมุนไพรที่ใช้เป็น  ยาชง เช่น ยาชงหญ้าหนวดแมว ยาชงชุมเห็ดเทศ เป็นต้น นอกจากนี้เครื่องดื่ม สมุนไพรหลายชนิด เช่น ขิง   มะตูม เก๊กฮวย เป็นต้น ก็ปรุง ด้วยการชงเช่นเดียวกัน ยาชงเป็น วิธีการง่าย สะดวกและเป็นที่นิยมทั่วไป 
- ยาต้ม ยาต้มเป็นการปรุงยาสมุนไพรโดยใช้สมุนไพรแห้งหรือสด ต้มรวมกับน้ำส่วนของ สมุนไพรมีทั้งใบ    ลำต้น แก่น เมล็ดและราก วิธีการเตรียมทำ ได้โดยหั่นหรือสับ สมุนไพรเป็นชิ้นเล็กพอดี ใส่ลงในหม้อดิน    กระเบื้อง หรือภาชนะที่มิใช่โลหะ และใส่น้ำลงไปพอท่วมยาเล็กน้อย หากเป็นสมุนไพรแห้ง ให้แช่น้ำทิ้งไว้   สักครู่ สมุนไพรสด ไม่ต้องแช่น้ำ ใช้ไฟขนาดกลางต้มให้เดือด หลังจากเดือดแล้วให้ใช้ไฟอ่อน ควรคนยา   สม่ำเสมอมิให้ยาไหม้ (การต้มยาไทยมักจะต้มแบบ 3 เอา 1 คือใส่น้ำ 3 ส่วน ของ ปริมาณที่ใช้และ ต้มให้   เหลือ 1 ส่วน) ระยะเวลาของการต้มขึ้นอยู่กับส่วนของพืชสมุนไพร หากเป็นส่วนของใบ ดอก หรือกิ่งขนาด
    เล็ก ใช้เวลาต้ม 3-4 นาที หากเป็น ส่วนที่แข็ง เช่น รากหรือแก่นของลำต้นใช้เวลาต้ม 10 นาที ยาต้มไม่ทิ้ง  ไว้ค้างคืน ต้มและรับประทานให้หมดภายในวันเดียว โดยทั่วไปมักแบ่งรับประทานเป็น 3 ครั้ง ก่อนอาหาร   และวันรุ่งขึ้นค่อยเติมน้ำและต้มใหม่อีกครั้งหนึ่ง ยาไทยสมัยก่อนนิยมต้มในหม้อดิน และปาก  หม้อยาใช้  ใบตองสด หรือผ้าขาวบางปิดหม้อยาประมาณครึ่ง หนึ่ง เพื่อความสะดวกในการรินยา และที่หม้อยา จะมี   “เฉลวซึ่งทำด้วยไม้ไผ่จักเป็นตอกและสานเป็นรูปคล้ายดาว เพื่อป้องกันของร้ายไม่ให้มารบกวน   บางทีก็มีการผูก เหรียญสลึง ไว้ที่ปากหม้อ เมื่อคนไข้หายแล้วก็จะนำเงินนี้มาซื้อของทำบุญเพื่ออุทิศส่วน กุศลให้ เจ้าของตำรานั้น
 -
ยาดอง เป็นยาที่ใช้สารละลายหลายชนิด เช่นเหล้า น้ำมะกรูด น้ำส้ม เป็นต้น แช่สมุนไพรแบบเย็น ในที่นี้  จะแนะนำเฉพาะยาดองเหล้า ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้บ่อย เท่านั้น การปรุงยา ทำได้โดย นำส่วนของสมุนไพร  ที่ใช้เป็นยามาบดเป็นผงหยาบและห่อด้วยผ้าขาวบางหลวม ๆ เผื่อยาพองตัวเวลาอมน้ำ   ถ้าหากเป็นรากหรือแก่นของต้อนไม้ให้ฝาน เป็นชิ้นบาง ๆ เท่าๆ กัน เพื่อให้น้ำเหล้าซึมเข้าสู่ยาได้อย่างทั่วถึง ภาชนะที่ใช้สำหรับเตรียมยาดองเหล้าควรใช้โถกระเบื้องหรือขวดโหลแก้วที่มีฝาปิดสนิท เมื่อใส่ยาลงใน  ภาชนะ เรียบร้อย แล้วให้เท่า น้ำเหล้าให้ท่วมยา ตั้งทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ และคนยาให้ทั่ววันละ 1 ครั้ง   ยาดองเหล้าเป็นยาที่ค่อนข้างแรง ปริมาณที่ใช้มักน้อยกว่ายาต้ม และห้ามใช้กับผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หญิงมีครรภ์ และผู้ที่แพ้เหล้า
 -
ยาผง ยาผงปรุงจากส่วนของพืชสมุนไพร บดละเอียดเป็นผงชนิดเดียวหรือ หลายชนิดผสม กัน   ยาแผน  โบราณหลายตำรับปรุงเป็นยาผง เช่น ยาหอม ยาเขียว เป็นต้น เวลารับ ประทานมักจะใช้กับ น้ำกระสายยา  ซึ่งน้ำกระสายยาอาจเป็นน้ำสุก น้ำดอกมะลิ น้ำซาวข้าว น้ำมะนาว น้ำมะกอก เป็นต้น
 -
ยาลูกกลอน การปรุงยาลูกกลอนทำได้โดยเอาส่วนของสมุนไพร มาหั่นเป็นแว่นบาง ๆ ผึ่งแดด ให้แห้ง  บดเป็นผงละเอียด และน้ำผงมาผสมกันน้ำผึ้ง (น้ำผึ้งที่ใช้ปั้น ลูกกลอน มักต้มให้ร้อนเพื่อ ขจัดสิ่ง สกปรกก่อน) อัตราส่วนผสมระหว่างผงสมุนไพรต่อน้ำผึ้งเท่า กับ 1-2 ส่วน : 1 ส่วน ทั้งนี้ขึ้นกับลักษณะของผง   สมุนไพร เคล้ายาให้กลม กลืนประมาณ ว่าผงสมุนไพรที่ผสมน้ำผึ้งแล้วไม่ติดมือเป็นใช้ได้ จากนั้นปั้นก้อน กลม ขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย (เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.8 เซนติเมตร) หรืออาจใช้รางไม้ปั้นเป็นลูกกลอน ก็ได้ จากนั้น จึงเอาไปอบแห้งหรือตากแดดจัด 1-2 วัน และบรรจุภาชนะที่ปิดมิดชิดและสะอาด นอกจากกรรมวิธีปรุงยาดังกล่าวแล้ว ยาสมุนไพรยังปรุงได้อีกหลายวิธี เช่น การรม การผอก การเตรียมเป็นยาประคม การหุงด้วยน้ำมัน เป็นต้น การเลือกกรรมวิธี ปรุงยาได้เหมาะสมจะทำให้สมุนไพร ออกฤทธิ์ได้เต็มที่
ส่งผลต่อการรักษาความเจ็บป่วยได้อย่าง ถูกต้อง