Pages

กฤษณา

กฤษณา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aquilaria crassna Pierre ex Lecomte
ชื่อสามัญ : Eagle wood
วงศ์ : Thymelaeaceae
ชื่ออื่น : ไม้หอม (ภาคตะวันออก)ติ่มเฮียง (ไม้หอมที่จมน้ำ) (จีน), เซงเคง (ภาษากะเหรี่ยง), สีเสียดน้ำ(บุรีรัมย์), ตะเกราน้ำ(จันทบุรี), ไม้พวงมะพร้าว (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
กฤษณาเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ มีความสูงตั้งแต่ 8-21 เมตร ขึ้นไป วัดโดยรอบลำต้นโตประมาณ 1.5-4.5 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทรงเจดีย์ต่ำ หรือรูปกรวย ลำต้นเปลาตรงมักมีพูพอนที่โคนต้นเมื่อมีอายุมาก เปลือกด้านนอกเรียบสีเทาอมขาว เปลือกหนาประมาณ 5-10 มิลลิเมตร มีรูระบายอากาศสีน้ำตาลอ่อนทั่วไป เปลือกด้านนอกจะปริเป็นร่องเล็กๆ เมื่ออายุมากๆ ส่วนเปลือกชั้นในมีสีขาวอมเหลือง มีขนคล้ายเส้นไหม เป็นมันตามปลายยอดเปลือกนอกใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว รูปมน รูปไข่กลับ หรือรูปยาวขอบขนานออกเรียงสลับกัน เนื้อใบเป็นมันปลายใบเรียวแหลม ใบกว้าง 2.5-3.5 เซนติเมตร ยาว 7-9 เซนติเมตร โคนใบรูปลิ่ม ใบแก่เกลี้ยงเป็นมัน แต่ใบอ่อนสั้นและคล้ายไหม เส้นแขนงใบ 12-18 คู่ ก้านใบมีขนสั้นนุ่มยาว 3-7 มิลลิเมตร สีเขียวอ่อน ใบแก่มีสีเขียวเข้มก่อนร่วงเป็นเหลืองดอก  สีขาว สีเหลือง ไม่มีกลีบดอก ออกเป็นช่อเล็กๆ ประมาณ 4-6 ดอก มีกลิ่นหอม เป็นดอกสมบูรณ์เพศ เกิดที่ง่ามใบหรือยอด เป็นแบบ Axillary หรือ Terminal umbles ก้านดอกสั้น มีขนนุ่มอยู่ทั่วไป ตามง่ามใบและดอก ออกดอกในช่วงฤดูร้อน และกลายเป็นผลแก่ในประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน เมื่อดอกบานแล้ววงกลีบเลี้ยงจะเจริญมาก กลีบดอกมีขนยาว 1-1.5 มิลลิเมตร เกสรตัวผู้มีก้านยาว 1-1.5 มิลลิเมตร อับเกสร 1 มิลลิเมตร รังไข่มีขนยาว 2-3 มิลลิเมตร ผล เป็นแบบ Capsule รูปไข่กลับค่อนข้างแบน ส่วนที่ติดกับขั้วเล็ก เปลือกแข็ง มีขนสีเทา ผลยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ในเดือนสิงหาคม ผลเริ่มแก่และจะแตกอ้ามีเมล็ด 1 หรือ 2 เมล็ดแบบ Ovoid ขนาดของเมล็ดยาว 5-6 เซนติเมตร มีหางเมล็ดมีสีแดงหรือสีส้ม ปกคลุมด้วยขนสั้นนิ่มมีสีแดงอมน้ำตาล ระยะเวลาในการออก อยู่เป็นช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ และเป็นผลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
ส่วนที่ใช้ : ยอดอ่อน เนื้อไม้ แก่น และชัน
สรรพคุณ
          เนื้อไม้
          - รสขม หอม เป็นยาบำรุงหัวใจ (คือมีอาการหน้าเขียวตาเขียว)
          - ช่วยตับ ปอด ให้เป็นปกติ แพทย์ตามชนบทใช้ปรุงเป็นยาหอมแก้ลมหน้ามืดวิงเวียน        ผสมเครื่องหอมทุกชนิด ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอม เช่น ธูปหอม น้ำอบไทย
          - สุมศีรษะ แก้ลมทรางสำหรับเด็ก รับประทานให้ชุ่มชื่นหัวใจ กฤษณาชนิด Aquilaria       agallocha ใช้เนื้อไม้เป็นยารักษาโรคปวดข้อ

          น้ำมันจากเมล็ด - รักษาโรคเรื้อน และโรคผิวหนังได้
          น้ำมันกฤษณา
           เป็นยาบำรุงหัวใจ แก้โรคท้องอืดท้องเฟ้อ โรคลำไส้ โรคกระเพาะอาหาร    โรคตับ ซึ่งในประเทศไทยรู้จักในนามกฤษณากลั่น ใช้ในพิธีกรรมของศาสนาอิสลาม ใช้ทาตัวป้องกันไรในทะเลทราย เป็นเครื่องประทินผิว ใช้ทำหัวน้ำหอมใช้กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ               
          ชิ้นไม้กฤษณา
          ใช้บดผสมเป็นยาบำรุงหัวใจในเลือด ใช้ในพิธีกรรมของศาสนา ใช้ระงับอารมณ์โมโหดุร้าย ผ่อนคลายความตึงเครียด บำรุงสมอง ทำให้เกิดอารมณ์สุนทรีย์ ฯลฯ               
          น้ำกลั่นกฤษณา
          ใช้ทำสบู่หอม สบู่เหลว ยาสระผม เครื่องประทินผิว ใช้ทำสปาระงับความเครียดหรือรับประทานเป็นประจำเป็นยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเป็นเถาดาน ฯลฯ               
          กากกฤษณาหลังจากการกลั่น
          ใช้ทำผงธูปหอม เครื่องปั้นต่างๆ               
          เปลือกกฤษณา
          - ชั้นนอกใช้ทำยากันยุง
          - ชั้นกลางใช้เป็นเครื่องจักสาน
          - ชั้นในใช้ทอเสื้อผ้า เชือกป่าน
          ใบกฤษณาหลังจากเกิดกฤษณาแล้ว
          - น้ำจากใบเป็นยารักษาภูมิแพ้
          - น้ำจากใบสามารถรักษาโรคเบาหวานได้
          - ใช้เป็นสีในการทำธูปสีเขียว
          -  ใช้ใบทำชาเขียว กำลังเป็นที่นิยมในประเทศญี่ปุ่น

สารสำคัญที่พบ               
Essential oilsAgarol;  agarospiol; agarofuran; dihydroagarofuran; 4-hydroxydihydroagarofuran, 3, 4-hihydroxydihydroagarofuran; nor-ketoagarofuran; baimuxinol; dehydrobaimuxinol; baimuxinic acid; baimuxinal; dehydrobaimuxinaol; baimuxinic acid; bimuxinal; sinenofuranal; sinenofuranol; agarotetrol; aquillochin; benzyl acetone; dehydrojinkoh-eremol; 3,5-dinitrobenzoate; (-)-1,11-epoxyguaia-11-ene; (-)-guaia-1-diene-15 ol;  (-)-guaia-1,11-diene-15-carboxylic acid; (1)-guaia-1,11-diene-9-one; (-)-guaia-1,11-dien-15,2-olide; (-)-guaia-1,11-dien-15-al; hydroxycinnamic acid; hydroxyisoagarotetrol; 9-hydroxyselina-4,11-dien-14-oic acid; isoagarotetrol; liriodenine; methoxyguaia-1,11-dien-15-carboxylate; 2-(2-phenylethyl)-7-methoxychromonyl-6-oxychromone; 2-(2-phenylethyl)-6,7,8-trihydroxy-5,6,7,8 tetrahydro-5-2-(2-phenylethyl) chromonyl-6-oxy chromone; 2-(2-phenylethyl)-5,6,7,8-tetrahydroxy-5,6,7,8-tetrahydro-chromone; rotundone; (-)-selina-3,11-dien-14 al; (+)-selina-4,11-dien-14-al; selina-3,11-dien-14-oic acid; selina-4,11-dien-14-oic acid; (-)-selina-3,11-dien-9-one; (+)-selina-3,11-dien-9-ol, 1,3-dibehenyl-2-ferulyl glyceride, 12-O-n-deca-2,4,6-trienoylphorbol-13-acetate; 5-hydroxy-6-methoxy-2-(2-phenylethyl)chromone; 6-hydroxy-2-(2-hydroxy-2-phenylethyl)chromone; 8-chloro-2-(2-phenylethyl)-5,6,7-trihydroxy-5,6,7,8-tetrahydrochromone; 6,7-dihydroxy-2-(2-phenylethyl)-5,6,7,8-tetrahydrochromone; 7,8-dimethoxy-2-[2-(3'-acetoxyphenyl)ethyl]chromone; 6-methoxy-2-(2-phenylethyl)chromone;6,7-dimethoxy-2-(2-phenylethyl)chromone; abietane ester