Pages

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสมุนไพร

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสมุนไพร 

             สมุนไพร (Medicinal Plant หรือ Herb) กำเนิดจากธรรมชาติและมีความหมายต่อชีวิตมนุษย์โดย เฉพาะในมิติทางสุขภาพ อันหมายถึงทั้งการส่งเสริมสุขภาพ และการ รักษาโรค ความหมายของยาสมุนไพร ในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ได้ระบุว่า ยาสมุนไพร หมายความว่า ยาที่ได้จากพฤกษาชาติ สัตว์ หรือแร่ธาตุ ซึ่งมิได้ผสมปรุง หรือ แปรสภาพ
สมุนไพรสำหรับงาน สาธารณสุขมูลฐานส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร พืชหรือต้นไม้มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วน คือ ราก ลำต้น ใบ ดอกและผล ส่วนของพืช เหล่านี้ มีรูป ร่างลักษณะโครงสร้าง และบทบาท ต่อพืชที่แตกต่างกัน  การนำสมุนไพรมาใช้เป็นยาต้องคำนึง ถึงธรรมชาติของสมุนไพรแต่ละชนิด พันธุ์ สมุนไพร สภาวะ แวดล้อมในการปลูก ฤดูกาล และช่วงเวลาที่เก็บสมุนไพร นับเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดคุณภาพของสมุนไพร

 
ในสมุนไพรแต่ละชนิดประกอบด้วยสารเคมี หลายชนิดอาจ
แบ่งกลุ่มใหญ่ได้ 7 กลุ่ม 
  
คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrates) คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอินทรีย์ที่ประกอยด้วย คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน คาร์โบไฮเดรตเป็นกลุ่มสารที่พลมากทั้งในพืชและสัตว์ สารที่เป็น คาร์โบไฮเดรต เช่น แป้ง น้ำตาล กัม (Kum) วุ้น (Agar) น้ำผึ้ง เปคติน (Pectin) เป็นต้น  

ไขมัน (Lipids) ไขมันเป็นสารที่ไม่ละลายน้ำ แต่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ (Organin Solvent) และเมื่อทำปฏิกิริยากับด่างจะกลายเป็นสบู่ น้ำมันในพืชหลายชนิดเป็นยา สมุนไพร เช่น น้ำมันละหุ่ง น้ำมันมะพร้าว เป็นต้น
   
น้ำมันหอมระเหย (Volatile Oil หรือ Essential Oil) น้ำมันหอมระเหยเป็นสารที่พบมากใน
พืชเขตร้อน มีลักษณะเป็นน้ำมัน มีกลิ่นและรสเฉพาะตัว ระเหยได้ง่ายในอุณหภูมิธรรมดา เบากว่าน้ำสามารถสกัด ออกมา จากส่วนของพืชได้ โดยวิธีการกลั่นด้วย ไอน้ำ (stream distillation) หรือการบีบ(expression) ประโยชน์คือเป็นตัวแต่งกลิ่นในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง และ สมุนไพรมี ประโยชน์ด้านขับลม ฆ่าเชื้อโรค พืชสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย คือ กระเทียม ขิง ไพล มะกรูด ตะไคร้ กานพลู อบเชย เป็นต้น 


 เรซินและบาลซัม (Resins and Balsums) เรซินเป็นสารอินทรีย์หรือสารผสมประเภทโพลีเมอร์ มีรูปร่างไม่แน่นอนส่วนใหญ่จะเปราะ แตกง่าย บางชนิดจะนิ่ม ไม่ละลายน้ำ ละลายได้ในตัวทำลาย อินทรีย์ เมื่อเผาไฟจะ หลอมเหลว ได้สารที่ใส ข้น และเหนียว เช่น ชันสน เป็นต้น บาลซัม เป็นสาร resinous mixture ซึ่งประกอบด้วย กรดซินนามิก (CIN-NAMIC ACID) หรือเอสเตอร์ของกรดสองชนิดนี้ เช่น กำยาน เป็นต้น 

 แอลคาลอยด์ (Alkaloids) แอลคาลอยด์เป็นสารอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบ (Organic Nitrigen Compound) มักพบในพืชชั้นสูง มีสูตรโครงสร้างซับซ้อน และแตกต่างกันมากมาย ปัจจุบันพบแอลคาลอยด์มากกว่า 5,000 ชนิด คุณสมบัติของแอลคาลอยด์ คือ ส่วนใหญ่มีรสขม ไม่ละลายน้ำ ละลายได้ในสารละลายอินทรีย์ (Organic Solvent) มีฤทธิ์ เป็นด่าง
แอลคาลอยด์มีประโยชน์ในการรักษาโรคอย่างกว้างขวาง เช่นใช้เป็นยา ระงับปวด ยาชาเฉพาะที่ ยาแก้ไอ ยาแก้หอบหืด ยารักษาแผลในกระเพาะและลำไส้ ยาลดความดัน ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ เป็นต้น พืชสมุนไพรที่มีแอลคาลอยด์เป็นส่วนมาก คือ หมากลำโพง ซิงโคนา ดองดึง ระย่อม ยาสูบ กลอย ฝิ่น แสลงใจ เป็นต้น 

  
กลัยโคไซด์ (Glycosides) กลัยโคไซด์เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่เกิดจาก agycone (หรือ genin) จับกับส่วนที่เป็นน้ำตาล (glycone part) ละลายน้ำได้ดี โครงสร้างของ agycone มีความแตกต่าง กันหลายแบบ ทำให้ประเภทและ สรรพคุณทางเภสัชวิทยาของกลัยโคไซด์มีหลายชนิด ใช้เป็นยาที่มีประโยชน์ และสารพิษที่มีโทษต่อร่างกาย กลัยโคไซด์จำแนกตามสูตรโครงสร้างของ agycone ได้หลาย ประเภท คือ
 
 
- คาร์ดิเอ็ก กลัยโคไซด์ (Cardiac Glycisides) มีฤทธิ์ต่อระบบกล้ามเนื้อหัวใจ   และระบบการไหลเวียนของโลหิต เช่น ใบยี่โถ เป็นต้น  - แอนทราควิโนน กลัยโคไซด์ (Antrawquinone Glycosides) มีฤทธอ์เป็นยาระบาย ยาฆ่าเชื้อและสีย้อมผ้า เช่น ใบมะขามแขก ใบขี้เหล็ก ใบชุมเห็ดเทศ ใบว่านหางจระเข้
 
 
- ซาโปนิน กลัยโคไวด์ (Saponin Glycosides) เป็นกลุ่มสารที่มีคุณสมบัติเกิดฟอง เมื่อเขย่ากับน้ำ    เช่น ลูกประคำดีควาย เป็นต้น

 -
ไซยาโนเจนนีติก กลัยโคไซด์ (Cyanogenatic Glycosides) มีส่วนของ Agycone เช่น   Cyanogenetic Nitrate สารกลุ่มนี้เมื่อถูกย่อยจะได้สารจำพวกไซนาไนด์ เช่น รากมันสำปะหลัง ผักสะตอ    ผักหนาน ผักเสี้ยนผี กระเบาน้ำ เป็นต้น
 
 
- ไอโซไทโอไซยาเนท กลัยโคไซด์ (Isothiocyanate Glycosides) มีส่วนของ agkycone เป็นสารจำพวก Isothiocyanate

 
- ฟลาโวนอล กลัยโคไซด์ (Favonol gkycosides) เป็นสารสีที่พบในหลายส่วนของพืช
    ส่วนใหญ่สีออกไปทางสีแดง เหลือง ม่วง น้ำเงิน เช่น ดอกอัญชัน เป็นต้น

 
 
- แอลกอฮอลิค กลัยโคไซด์ (Alcoholic Glycosides) มี alycone เป็นแอลกอฮอล์
   ยังมีกลัยโคไซด์อีกหลายชนิด เช่น ฟินอลิค หลัยโคไซด์ (Phenolic Glycosides) แอลดีไฮด์ กลัยโคไซด์   (Aldehyde Glycosides) เป็นต้น 

  
แทนนิน (Tannins) เป็นสารที่พบได้ในพืชหลายชนิด มีโมเลกุลใหญ่และโครงสร้างซับซ้อน มีสถานะเป็นกรดอ่อนรสฝาด แทนนินใช้เป็นยาฝาดสมาน ยาแก้ท้องเสีย ช่วยรักษาแผล ไฟไหม้ และใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม ฟอกหนัง กรณีที่รับประทานแทนนินเป็นประจำอาจทำให้เกิดมะเร็งได้ สมุนไพรที่มีแทนนิน คือ เปลือกทับทิม เปลือกอบเชย ใบฝรั่ง ใบ / เปลือกสีเสียด ใบชา เป็นต้น นอกจากสารดังกล่าว ในพืชสมุนไพรยังมีสารประกอบอีกหลายชนิด เช่น ไขมัน สเตียรอยด์ (steroid) เป็นต้น สารเหล่านี้บางชนิดมีสรรพคุณทางยาเช่นกัน
ในการทำงานเกี่ยวกับสมุนไพร ผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องมีความรู้ และเทคโนโลยีเกี่ยวกับสมุนไพร ให้ถ่องแท้ เพื่อจะเป็นผู้แนะนำและผู้พัฒนาการ ใช้ประโยชน์ จากสมุนไพร ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ


ความรู้ที่ เกี่ยวกับสมุนไพรที่จำเป็น คือ
 
ความรู้ด้านพฤกษศาสตร์ 
รู้จักจำแนกพืชสมุนไพร ที่จะแนะนะอย่างถ่องแท้ เรียนรู้และ สังเกตลักษณะ ของราก ลำต้น ใบ ดอก ผล และเมล็ดของพืช สังเกตรูปร่าง ขนาด สี กลิ่น และรวมรู้ด้านปลูกและกระจายพันธุ์ การใช้ประโยชน์จาก พืชสมุนไพรควรมีงาน ด้าน ปลูกสมุนไพร เพื่อเป็นแหล่งตัวอย่าง แหล่งขยายพันธุ์ และแหล่งวัตถุดิบ เพื่อใช้เป็น ยาสมุนไพรในระดับ ชุมชน ผู้ปฏิบัติงานควรศึกษาด้วยตัวเอง หรือประสานงานกับ ผู้ปฏิบัติงานด้านเกษตรหรือผู้รู้ ในชุมชน ของท่านในการศึกษาการปลูก และการกระจาย พันธุ์สมุนไพร 

  
การเก็บ
การทำให้แห้งและการเตรียมยาสมุนไพร พืชสมุนไพรเป็นสิ่งที่ได้จากสารประกอบ ทางเคมีของพืชสมุนไพรจะกำหนดด้วยปัจจัยหลายอย่าง ดังกล่าวแล้ว ผู้ปฏิบัติงานต้อง รู้จักธรรมชาติ ของสมุนไพรแต่ละชนิด   เพื่อเลือกวิธีการเก็บและเตรียม ยาสมุนไพรให้สอดคล้องกับสมุนไพรชนิดนั้น 


 ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับยาสมุนไพร
ผู้ปฏิบัติงาน สมุนไพรเป็นผู้แนะนำ หรือ ผู้บริการยาสมุนไพรให้กับชุมชน ดังนั้นจึงควรมีความรู้ ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับ สมุนไพรแต่ละชนิดข้อมูล ด้านพฤษศาสตร์ ด้านเภสัชวิทยา ด้านพิษวิทยาตลอดจนการทดลองทางคลินิกจะสร้างให้เกิดศักยภาพและ ความมั่นใจ ต่อผู้ทำงานด้านสมุนไพร นอกจานนี้เมื่อผู้ทำงาน ด้านสมุนไพรมีอาการเจ็บป่วย และใช้สมุนไพร ในการ รักษา ตนเองก็จะเพิ่มพูนประสบการณ์ในการแนะนำ และการใช้ สมุนไพร ได้อีกทางหนึ่ง 


 ความรู้ด้านวิธีใช้และข้อควรระวังของสมุนไพร 
หากปฏิบัติงานด้านสมุนไพร ต้องการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากสมุนไพร ในการรักษาอาการ เจ็บป่วยเบื้องต้น หรือ ส่งเสริมสุขภาพ ผู้ทำงานควรเปลี่ยนวิธีใช้และข้อควรระวัง ของสมุนไพรแต่ละชนิด อย่างถูกต้อง เพื่อให้การส่งเสริมเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย นอกจากนี้ ผู้ปฏิบัติงานด้านสมุนไพรอาจเรียนรู้ได้จาก ผู้รู้หรือหมอพื้นบ้าน ในชุมชนที่มี ประสบการณ์การใช้ยาสมุนไพรด้วย