Pages

ผักปลังแดง

ผักปลังแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Basella rubra Linn.วงศ์  Basellaceae
ชื่ออื่น ผักปลังยอดแดงครั่ง ผักปั๋ง (ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
 ไม้เลื้อยล้มลุก ลำต้น กลมอวบน้ำ เมื่อขยี้จะเป็นเมือกลื่น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1.3 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขาได้มากสีม่วงแดงใบ ใบเดี่ยว หนา ขอบใบเรียบติดเรียงแบบสลับ แผ่นใบกว้างอวบน้ำ ขนาดกว้าง1.3-7.2 เซนติเมตร ยาว 2.1-8.3 เซนติเมตร ใบเป็นมัน ไม่มีขน ดอก มีช่อดอกแบบสไปค์(Spike) ดอกมีขนาดเล็ก มีทั้งดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย
รูปทรวงได้สัดส่วนสมดุล กลีบรองมี 5 กลีบ ติดกันที่ฐาน และมีกาบประดับขนาดเล็ก 2 อัน รองรับอยู่กลีบมีสีชมพู หรือม่วงเข้ม มีอายุคงทน กลีบดอกไม่มีเกสรตัวผู้มี 5 อัน ติดที่ฐานของกลีบรองเกสรตัวเมีย มีรังไข่ 1 อัน อยู่เหนือชั้นกลีบดอก(superior) ยอดเกสรแยกเป็น 3 แฉก ผล เป็นแบบดรูป (Drupe)มี 3 พู เมื่อแก่จัดเป็นสีม่วงเข้มเนื้อนิ่ม ภายในผลมีน้ำสีม่วง ฤดูกาลออกผลระหว่างเดือน มิถุนายน-ตุลาคม
เมล็ด รูปไข่แข็งมีอาหารสะสม ต้นอ่อนในม้วน
บิดหรือโค้งเป็นวง การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ปักชำลำต้น ยอด
ประโยชน์และสรรพคุณ
ต้น : แก้พิษฝีดาษ
ใบ : แก้กลาก
ดอก : แก้เกลื้อน
ราก : แก้มือเท้าด่าง แก้รังแค แก้พรรดึก (ก้อนอุจจาระที่แข็งกลม)

ใบและดอกอ่อน รับประทานเป็นผัก ใช้ปรุงอาหาร โดยการนำไปต้ม ลวกนึ่ง ให้สุก รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก ใบ แกงส้ม แกงแค แกงปลา แกงอ่อม ผัดน้ำมัน ผัดกับแหนม ชาวเหนือและชาวอีสานนิยมรับประทานทางสมุนไพร ชาวเหนือมีความเชื่อว่า ผู้ที่มีคาถาอาคม จะไม่กล้ารับประทานเพราะกลัวคาถาเสื่อม อาจเนื่องมาจากผักปลังเป็นผักที่นำไปใช้กับการคลอด
บุตร โดยใช้ลำต้นสดตำให้ละเอียด และคั้นน้ำเมือกเอามาทาช่องคลอด เพื่อให้คลอดง่ายขึ้น และผู้เฒ่าผู้แก่แนะนำให้หญิงมีครรภ์รับประทานด้วย ก้านมีสรรพคุณ แก้พิษฝี แก้ขัดเบา แก้ท้องผูก ลดไข้ ใบ แก้กลาก บรรเทาอาการผื่นคัน ดอก แก้เกลื้อน ราก สรรพคุณ แก้มือเท้าด่างๆ แก้รังแค ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกอ่อน รสจืดเย็น ช่วยให้ท้องระบายอ่อน ๆ