Pages

กลอย


กลอย ( Kloi )
Diosorea hispida Dennst.
DIOSCOREACEAE

ชื่ออื่น มันกลอย กลอยข้าวเหนียว กลอยหัวเหนียว กลอยนก กอย คลี้
ลักษณะทั่วไป ไม้เถาเลื้อยพันต้นไม้อื่น ลำต้น กลม โคนต้นเป็นเหลี่ยม
มีหนามสั้น ๆ ตลอดเถา ลำต้นสีเขียว มีหัวอยู่ใต้ผิวดินเปลือกของหัวบาง
สีน้ำตาลอ่อนเหลือง ลักษณะกลมรีมีรากเล็กๆ กระจายทั่วทั้งหัว มีหัว 3-5 หัว
ต่อต้น หัวกลอยมี 2 ชนิด คืด เนื้อสีขาว (กลอยข้าวเจ้า) เนื้อสีเหลืองครีม
(กลอยข้าวเหนียว) ใบ เป็นใบประกอบแบบพัด เรียงสลับมีใบย่อย 3 ใบ แยก
ออกจากจุดเดียวกันของก้านใบ ใบกลางเป็นรูปวงรี ปลายใบแหลมโคนสอบ
แคบ แผ่นใบกว้าง มีขนนุ่มปกคลุมใบย่อย 2 ใบ ใบข้างมีลักษณะคล้าย
รูปหัวใจเบี้ยว ปลายใบแหลม สั้นกว่าใบกลาง ใบกว้าง 6-15 เซนติเมตร
ยาว 8-12 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับขนาดของหัว ก้านใบยาว 7-14 เซนติเมตร
ดอก เริ่มออกดอกหลังจากลำต้น เกี่ยวพันต้นไม้อื่นได้ระยะหนึ่ง ออกเป็นช่อ
ระย้า ตามข้อง่าม ใบหรือซอกใบ มีดอกเล็กๆ สีเขียวอ่อนติดบนก้านช่อดอก
ออกดอกเพศผู้และดอกเมียแยกต้น มีเกสรตัวผู้ 6 อัน เกสรตัวเมีย ปลายแยก
เป็นแฉก ผล คล้ายผลมะเฟืองมี 3 พู แต่ละพูมี 1 เมล็ด เมื่อผลแก่แตกได้เอง
เมล็ดมีลักษณะกลมแบน มีปีกบางใส ช่วยการแพร่พันธุ์ ให้ปลิวตามลม
การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ดและแยกหัว
ประโยชน์ และความสำคัญ ทางสมุนไพร หัว แก้เถาดาน (อาการ
แข็งเป็นลำในท้อง) หุงเป้นน้ำมันใส่แผล กัดฝ้า กัดหนอง ราก บดให้ละเอียด
ผสมกับน้ำมันมะพร้าว ใบยาสูบ ใบลำโพง หรือพริกใช้พอกแผล เพื่อฆ่า
ตัวหนอนในแผลสัตว์เลี้ยง ทางอาหาร หัวกลอย มีแป้งในปริมาณสูง ใช้
ประกอบอาหารได้ เช่น นึ่งกับข้าวเหนียว หรือแกงบวด ทำขนม หัวสด
ก่อนนำไปทำอาหารควรปอกเปลือก ฝานเป็นชิ้นบางๆ ใส่ชะลอมนำไปแช่น้ำ
ไหล ประมาณ 3 วัน หรือหมักเกลือ 1 คืน แล้วนำมาคั้นน้ำทิ้งทำเช่นเดิม
เป็นเวลา 3 วัน จึงนำไปปรุงเป็นอาหาร หรือหั่นเป็นแผ่นเล็กๆ ผึ่งแดดให้
แห้งชุบแป้งทอดกับกล้วยน้ำว้า หัวใต้ดินมีสารพิษ แอลคาลอยด์
(alkaloid)ชื่อ dioscorine ละลายน้ำได้ดี และมีผล ทำให้เกิดอาการ
คลื่นไส้ อาเจียนมึนงง คันคอ ตาพร่า เป็นลม การปฐมพยาบาลทำให้อาเจียน
รีบนำส่งโรงพยาบาล