Pages

เท้ายายม่อม

เท้ายายม่อม
ชื่อวิทยาศาสตร์  Tacca leontopetaloides  (L.) Kuntze
วงศ์  Taccaceae
ชื่ออื่น :  ไม้เท้าฤๅษี (ภาคกลาง) สิงโตดำ (กรุงเทพฯ) บุกรอ (ตราด)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีหัวเป็นแป้ง กลมหรือรี ใบรูปฝ่ามือ มี 3 แฉก แต่ละแฉกเป็นใบประกอบหลายแฉกย่อย ใบรูปฝ่ามือกว้างได้ 120 ซม. ยาว ได้ 70 ซม. ก้านใบยาว 20-170 ซม. รวมกาบใบ ช่อดอกมี 1-2 ช่อ ยาวได้ถึง 170 ซม. แต่ละช่อมี 20-40 ดอก แผ่นกลีบประดับมี 4-12 อัน เรียง 2 วง กลีบขนาดเกือบเท่าๆ กับ รูปไข่ รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก สีเขียวเข้ม ยาว 2.5-10 ซม. กลีบประดับรูปเส้นด้ายมี 20-40 อัน สีเขียวขาวอมม่วง ยาว 10-25 ซม. ดอกสีเขียวอมเหลือง กลีบรวม 6 กลีบ เรียง 2 วง วงนอกรูปรีหรือรูปใบหอก ยาว 0.4-0.7 ซม. วงในรูปไข่หรือรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 0.5-0.8 ซม. เกสรเพศผู้ 6 อัน ปลายแผ่เป็นแผ่น ก้านเกสรเพศเมียสั้น ปลายเกสรแยกเป็น 3 แฉก ผลมีเนื้อหลายเมล็ด เกือบกลมหรือทรงรี ห้อยลง เส้นผ่านศูนย์กลางยาว 1.5-2.5 ซม. เมล็ดจำนวนมาก
ส่วนที่ใช้
หัว
สรรพคุณ :
          หัวที่ใช้ทำเป็นแป้งได้ เรียกว่า William's arrow root แป้งเท้ายายม่อมเป็นอาหารอย่างดีสำหรับคนไข้ที่เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ให้คนไข้รับประทานดี เกิดกำลังและชุ่มชื่นหัวใจ
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          ใช่แป้งละลายน้ำดิบ ใส่น้ำตาลกรวด ตั้งไฟกวนจนสุก ให้คนไข้รับประทาน