Pages

มะระขี้นก

มะระขี้นก

ชื่ออื่น  ผักไห่ ผักไส่

ชื่อวงศ์  CUEURBITACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์  Momordica Charantia Linn.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น เป็นไม้ย่านเถาอ่อนเลื้อยเกาะพันไม้อื่น ลักษณะใบ ใบแตกออกจากเถา ขอบใบมีลักษณะเป็นแฉก 6-7 แฉก แต่ละแฉกเป็นหยัก ลักษณะดอก ดอกสีเหลืองขนาดเล็กประมาณ 1 เซนติเมตร ดอกออกจากข้อเถา เมื่อดอกแก่เต็มที่จะเป็นผล ลักษณะผล ผลผิวขรุขระเหมือนมะระบ้าน ลูกกลมรี หัว-ท้ายแหลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.0-2.5 นิ้ว ยาว ประมาณ 2 นิ้วส่วนที่ใช้เป็นอาหารยอดอ่อน ผลใช้เป็นอาหารประเภทแกงเลียง(ยอด) แกงเผ็ด (ยอด ผล) หรือลวกจิ้มน้ำพริก (ยอด ผล) รสชาติขม

สรรพคุณทางสมุนไพร

ใบ ยอด ผล มีสรรพคุณแก้ปากขมเวลาเป็นไข้ โดยทำเป็นแกงเลียง ทั้งต้น บำรุงโลหิต บำรุงน้ำดี แก้ไข้ดีซ่าน แก้โลหิตพิการ เจริญอาหาร แก้ร้อนในกระหายน้ำ(ผู้หญิงที่เป็นโรคหัวใจ ไม่ควรกินยานี้ แสลงโรคหัวใจ) นอกจากนี้ จากรายงานผลการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง (กมลาภรณ์ เสราดี, พ.ศ.2536) ได้ระบุไว้ว่ามะระขี้นก ชาวบ้านในจังหวัดภาคเหนือ แห่งหนึ่งนำไปใช้เป็นสรรพคุณทางสมุนไพร ดังนี้
     1. เนื้อในช่วยลดน้ำตาลในเส้นเดือด (โรคเบาหวาน)
     2. แก้ไข้ หรือร้อนใน ใช้ผลสด 1 ผล ขูดไส้ในออกหั่นฝอยต้มน้ำกิน
     3. แก้บิด ใช้น้ำคั้น จากผลสด 1 แก้ว ผสมน้ำกิน
     4. แก้แผลบวม ใช้ผลสมตำพอก
     5. แก้ปวดฝี ใช้ใบแห้ง บดเป็นผง ชงเหล้ากิน หรือใบสดตำคั้นเอาน้ำทา
        บริเวณที่เป็นฝี
     6. ปวดฟัน ใช้รากสดตำพอก
     7. เป็นแผลสุนัขกัด ใช้ใบสดตำพอก
     8. ขับพยาธิ ใช้ใบสด 120 กรัม ตำคั้นเอาน้ำกินหรือเอาเมล็ด 2-3
        เมล็ด กินขับพยาธิตัวกลม