Pages

ชงโค

ชงโค
ชื่อสามัญ :   Orchid Tree , Purple Bauhinia
ชื่อพื้นเมือง    ชงโค (กลาง) ; เสี้ยวดอกแดง (เหนือ) ; ผักเสี้ยว (เหนือ) ; กะเฮอ , สะเปซี่ (กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน) ; เสี้ยวหวาน (แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์   Bauhinia purpurea    L.
ชื่อวงศ์   LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น :ไม้สูงถึง 10 เมตรใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับรูปมนเกือบกลมแยกเป็น 2 พู ปลายมนกว้าง 8 - 16 เซนติเมตร ยาว 10 - 14 เซนติเมตร --ขอบใบเรียบ  ดอกช่อดอกออกข้างๆหรือปลายกิ่ง6-14 ดอก กลีบดอก 5 กลีบสีชมพูถึงม่วงเข้มรูปรีกว้างตรงส่วนกลางเมื่อบานวัดเส้นผ่านศูนย์กลาง6-8 ซม.เกสรตัวผู้ 3 อันรังไข่มีขนยาวผลฝักยาว 20 - 25 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดเมล็ดกลม มี 10 เมล็ด ในหนึ่งผล
ประโยชน์ทางสมุนไพร
 ใบ ต้มกินรักษาอาการไอดอก เป็นยาระบายขับพิษไข้ ราก ต้มกินเป็นยาระบาย ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับได้ดี ดอก และ แก่น มีสรรพคุณแก้โรคบิด ใบ มีสรรพคุณขับปัสสาวะ ใบอ่อน ของผักเสี้ยวเป็นผักที่ชาวเหนือนิยมรับประทานนำไปลวกจิ้มน้ำพริกหรือนำไปแกง เช่นแกงกับปลา แกงกับเนื้อนิยมแกงกับผักเชียงดา ผักชะอม มีรสอร่อย