Pages

ตำลึง

ตำลึง
Coccinia grandis Voigt
C.indica Wright & Arn.
CUCURBITACEAE

ชื่ออื่น ผักตำลึง ผักแคบ ตำนิน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
 ไม้เถา ลำต้น เลื้อยพันอาศัยมือเกาะซึ่งเป็นเส้นกลม ๆ สีเขียวยาว 12-14  เซนติเมตร งอคล้ายลวดสปริง เป็นเส้นเดี่ยวไม่แตกแขนง ออกตรงกันข้ามกับใบ
ใบ เดี่ยวเรียงสลับ ฐานใบรูปหัวใจ ปลายใยแหลมขอบในหยักแบบฟันเลื่อยตื้น ๆ หยักเว้าห้าแฉก เส้นใบแยกจากโคนใบที่จุดเดียวกัน 5-7 เส้น ใบกว้าง 3-4 เซนติเมตร
ดอก เป็นดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ ออกเดี่ยว ๆหรืออกเป็นกลุ่ม 2-3 ดอก ดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้มีกลีบเลี้ยงเชื่อมกันเป็นรูปกรวยปลายแยกมีลักษณะเรียวแหลม หนา 0.4-0.5 เซนติเมตร เป็นรูประฆัง กลีบดอกมี 5 กลีบ สีขาว ติดกันเป็นรูประฆัง ปลายแยกมีขนาด 2-4 เซนติเมตร เกสรตัวผู้มี 3 อัน มีขนปกคลุม ดอกเพศเมียแตกต่างจากดอกเพศ-ผู้คือ มีเกสรตัวเมีย 1 อัน เกสรตัวเมียแยกเป็น 3-4 แฉก รังไข่ติดกับฐานรองดอกอยู่ใต้ฐานรองดอกแบบ inferior
ผล เป็นแบบ berry ผลอ่อนสีเขียวเปลี่ยนเป็นสีแดงสด เมื่อแก่รูปร่างแบบทรงขนานขนาดกว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 5-7 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดมากรูปไข่กับแกมขนานแบน มีขนปกคลุม มี aril สีแดงสดหุ้ม ไม่มี endosperm กว้าง 0.3 เซนติเมตร ยาว 0.7 เซนติเมตร ออกดอกระหว่างเดือนเมษายน - ธันวาคมและติดผลเดือนมิถุนายน-มกราคม ขยายพันธุ์ โดยใช้เมล็ดและตัดชำลำต้น พบขึ้นทั่วไปตามชายทุ่งริมทาง ตามรั้ว ขึ้นพันต้นไม้อื่นทั่วไป

     ประโยชน์และสรรพคุณ
 ใบและเถามีเอ็นไซม์amylase ย่อยแป้งซึ่งทำให้มีอาการท้องอืดเฟ้อ ลดน้ำตาลในเลือด
ใบเถา ผลดิบ ดื่มวันละ 2 ครั้ง แก้ปัญหาเบาหวาน ลดผื่นคัน ปวดแสบร้อน ใบตำลึงสดล้างสะอาด ตำให้แหลก ผสมน้ำทา ใช้พอกทางอาหาร ใบ เถา ผลอ่อน ต้ม ดอง เป็นผักจิ้ม ใบลวกจิ้ม ปรุงแกงจืดหมูสับ แกงเลียง หรือใส่ก๋วยเตี๋ยว แทนถั่วงอก คุณค่าทางอาหาร
สูง วิตามินเอ แร่ธาตุ แคลเซียม โพแทสเซียม เหล็ก ราก มี lupeolacetete , ß-amyrin acetate, ß sitosterol น้ำยาง มีเอนไซม์amylase ผลมี lupeol ß amyrin และcucurbitacin