Pages

ชะอม

ชะอม
ชื่อวิทยาศาสตร์    Acacia Insuavis, Lace
วงศ์  MIMOSEAE
ชื่ออื่นๆ  ผักหละ(เหนือ) ,ยอดอม(ใต้),ผ้กขา(อุดรธานี,อีสาน), ผักหล๊ะ(ไทยยอง) 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ชะอมเป็นไม้เป็นไม้เลื้อย  ที่ปลูกตามบ้านจะพบในลักษณะไม้พุ่ม  เพราะเจ้าของมักตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ออกยอดไม่สู่เกินไปจะได้เก็บยอดได้สะดวก  หากไม่ตัดแต่งกิ่งเป็นระยะเวลานานชะอมก็จะเลื้อยขึ้นตามไม้ต้นอื่น  ตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมใบเป็นใบประกอบขนาดเล็กมีก้านใบแยกเป็นใบอยู่ 2 ทางลักษณะ คล้ายใบกระถินหรือใบส้มป่อย ใบอ่อนมีกลิ่นฉุนคล้ายกลิ่นลูกสะตอ ใบเรียงแบบสลับ ใบย่อยออกตรงข้ามกัน ใบย่อรูปรีมีประมาณ 13-28  คู่ ขอบใบเรียบปลายใบแหลม ดอกออกที่ซอกใบสีขาวหรือขาวนวลดอกขนาด เล็กและเห็นชัดเฉพาะเกสรตัวผู้เป็นฝอยๆ 
คุณค่าทางอาหาร
ยอดชะอมใบอ่อนมีรสจืดกลิ่นฉุน(กลิ่นหอมสุขุม)ช่วยลดความร้อนของร่างกายยอดชะอม 100 กรัมให้พลัง งานกับสุขภาพ 57 กิโลแคลอรี่ประกอบด้วยเส้นใย 5.7 กรัมแคลแซียม 58 มิลลิกรัมฟอสฟอรัส80มิลลิกรัม เหล็ก  4.1 มิลลิกรัมวิตามินเอ 10066IU  วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัมวิตามินบีสอง 0.25 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.5 มิลลิกรัม วิตามินซ  58  มิลลิกรัม  
ประโยชน์
ส่วนที่เป็นผัก/ฤดูกาล"ยอดอ่อนใบอ่อน"เป็นไม้ที่ออกยอดทั้งปีแต่จะออกมากในฤดูฝนชาวเหนือนิยมรับ ประทานยอดชะอมหน้าแล้งเพราะผักชะอมหน้าฝนจะมีรสเปรี้ยวกลิ่นฉุนบ้างครั้งทำให้ปวดท้อง การปรุงอาหารชะอมเป็นผักที่รับประทานได้ในทุกภาคของเมืองไทยวิธีการปรุงเป็นอาหารคือรับประทาน เป็นผักจิ้มโดยการลวกหรือนึ่งให้สุกหรือใช้ยอดอ่อนใบอ่อนเด็ดเป็นชิ้นสั้นๆแล้วชุบกับไข่ทอดรับประทาน ร่วมกับน้ำพริกกะปิชาวเหนือรับประทานร่วมกันส้มตำมะม่วงตำส้มโอนอกจากนี้ชาวเหนือและชาวอีสาน ยังนิยมนำไปปรุงเป็นแกงเชนชาวอีสานมักนำไปแกงรวมกับปลาไก่เนื้อกบเขียดต้มเป็นอ่อมหรือแกงแกง ลาวและแกงแคของชาวเหนือเป็นต้น  
สรรพคุณทางสมุนไพร
ใบอ่อนที่เรามักนำมาประกอบอาหารนั้นก็มีสรรพคุณช่วยลดความร้อนในร่างกาย รากแก้ท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้ มีวิตามินเอสูง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ แต่สำหรับคุณแม่ที่เพิ่งมีลูกอ่อนนั้นไม่ควรกินชะอม เพราะจะทำให้น้ำนมแห้ง
ราก แก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้ แก้ลิ้นอักเสบเป็นผื่นแดง