Pages

ทองสามย่าน

ทองสามย่าน
ชื่ออื่น : ทองสามย่าน (ภาคกลาง), โพเพะ (โคราช)
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kalanchoe integra (Medik.) O. Kuntze
วงศ์ : CRASSULACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นโค้งแล้วตั้งตรง ลักษณะของลำต้นอวบน้ำ ผิวเรียบ
เกลี้ยง ไม่มีกิ่งก้านสาขา ลำต้นข้อบน ๆ จะยาว ส่วนล่าง ๆ ข้อลำต้นสั้น ขนาดของลำต้นสูงประมาณ 1-1.5 เมตร
ใบ : ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ หรือรูปหอก โคนใบสอบเข้าหากันแคบ ส่วนปลายใบมน ริมขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ผิวเนื้อเรียบหนา ขนาดของใบกว้างประมาณ 1-5 นิ้ว ยาวประมาณ 1.5-12 นิ้ว ก้านใบจะโอบหุ้มลำต้น
ดอก : ดอกออกเป็นช่อ ตามบริเวณยอดของลำต้น ดอกมีขนาดเล็ก ลักษณะของดอกมีกลีบรองกลีบดอก ตั้งตรงหรือกางออกเป็นรูปเหลี่ยม ปลายกลีบแหลม มีขนาดยาวประมาณ 4-12 มม. สำหรับกลีบดอกนั้นจะเชื่อมติดกันเป็นท่อ ปลายกลีบแยกจากกันเป็นแฉกมีความยาวประมาณ
7-13 มม. ขนาดของท่อดอกยาวประมาณ 1-2 ซม. ตรงกลางมีเกสรตัวผู้ราว 8 อัน และเกสรตัวเมียเป็นเส้นยาวอยู่รวมกัน
ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปยาวรี ส่วนปลายแหลม ซึ่งจะมีความยาวราว 10-12 มม. ผลออกติดกันเป็นพวง
การขยายพันธุ์ : ทองสามย่าน เป็นพรรณไม้กลางแจ้งชอบแสงแดด ซึ่งมักพบตามบริเวณหินปูน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดเพาะ
ส่วนที่ใช้ : ลำต้น, ใบ
สรรพคุณทางสมุนไพร
ลำต้น ใช้เป็นยาแก้บรรเทาอาการฟกช้ำ และบวม ห้ามโลหิต และเป็นยาใช้ล้างนัยน์ ตา
ใบ นำใบสดมาตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำ เป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย แก้อหิวาตกโรค เป็นยาแก้พิษในสัตว์ เป็นยาบำรุง และเป็นยาใช้พอกแผล เป็นต้น