Pages

จวง (เทพทาโร)


จวง (เทพทาโร)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum porrectum Kosterm.
ชื่อวงศ์ Lauraceae (Laurel)
ชื่ออื่น จวงหอม เทพทาโร ปูต้น ไม้การบูร (ภาคเหนือ) จะไค้ต้น (พายัพ) ตะไคร้ต้น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) กะมะงิง (ปัตตานี) มือแด อบเชยจีน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เทพทาโร  เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลับทึบ สีเขียวเข้ม ลำต้นเรียบไม่มีพูพอน เปลือกต้นสีเทาอมเขียวหรืออมน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ แตกเป็นร่องยาวตามลำต้น เมื่อถากเปลือกออกจะมีกลิ่นหอม กิ่งมีลักษณะอ่อนเรียว เกลี้ยงและมักมีคราบขาว
                   ใบ  เป็นชนิดใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน เป็นใบรูปรีแกมรูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบเกลี้ยง ท้องใบมีคราบขาว ปลายใบแหลม โคนใบแหลมและกลม ยาวประมาณ 7 - 20 ซม. ก้านใบเรียวเล็ก 2.5 - 3.5 ซม.
                   ดอก  ออกเป็นช่อ สีขาวหรือเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ออกดอกตามปลายกิ่งเป็นกระจุกยาว 2.5 - 7.5 ซม. ก้านช่อดอกจะเรียวยาวและเล็กมาก
                   ผล  มีขนาดเล็กและกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7 มม. ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีม่วงดำ ก้านผลเรียว ยาวประมาณ 3 - 5 ซม.  (กรมป่าไม้, 2486)
                   ลักษณะเนื้อไม้  มีสีเทาแกมน้ำตาล มีกลุ่มหอมฉุน มีริ้วสีเขียวแกมเหลือง เนื้อไม้เป็นมันเลื่อม เสี้ยนตรง หรือสับสน เป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย เหนียว แข็งพอประมาณ เลื่อย ไส้กบ ตบแต่งง่าย (กรมป่าไม้, 2486)
                   สารสำคัญในเนื้อไม้  จะพบ d - camphor ที่ใช้แทน sassafras ได้ดีให้น้ำมันที่มีสารหอม คือ safrol และ cinnamic aldehyde และยังพบ safrol ในเปลือกต้นและใบ (ลีนา, 2537)

ประโยชน์และสรรพคุณทางสมุนไพร

ยอดอ่อนและดอกรับประทานได้  โดยใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก
  
จวงมีสรรพคุณทางสมุนไพร แก้วิงเวียน เหน็บชา บำรุงเลือด โดยใช้รากและเนื้อไม้มากต้มกิน้ำ
เปลือกเป็นยาบำรุงธาตุอย่างดี โดยเฉพาะสำหรับหญิงสาวรุ่น ต้มกินแก้เสียดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ