Pages

หวายขม

หวายขม
ชื่ออื่น  เสือครอง, หวายนั่ง หวายบุ่น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), หวายสยาม (ภาคกลาง)
ชื่อสามัญ  Rattam
ชื่อวิทยาศาสตร์    Calamus rotang Linn., C. viminalis Wild. 
ชื่อวงศ์   PALMACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
รากแบบระบบรากฝอย (fibrous root system) รากเป็นรากเกิดใหม่ที่โคนต้น
ลำต้นเป็นลำต้นเกี่ยวพันหรือเลื้อยเกาะ เป็นลำต้นแตกกอ (multiple trunk) ลำต้นสามารถแตกหน่อด้านข้างในตำแหน่งใต้ดินหรือใกล้ผิวดินเป็นกอ เป็นกอขนาดเล็ก มีหนามบริเวณลำต้น ลำต้นมีสีเขียวปนน้ำตาล
ใบเป็นรูปขนนกเป็นพวง (plumose) รูปใบเรียวแหลม ฐานใบแหลม ใบมีสีเขียวทั้งหลังใบและใต้ใบ
ช่อดอกแบบแตกแขนงเป็นช่อดอกเล็กๆ ช่อดอกจะผลิดอกย่อยออกมาจากภายใต้ก้าน ช่อดอกประกอบด้วย ดอกเพศผู้สีเหลืองนวล ดอกเพศเมียสีเหลือง
ผลมีลักษณะรูปร่างกลม ขนาด 1-2 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีน้ำตาล
สรรพคุณทางสมุนไพร

หัว   รสขมเย็น แก้ไอ บำรุงน้ำดี แก้ร้อนในกระหายน้ำ