Pages

หญ้าเจ้าชู้

หญ้าเจ้าชู้

ชื่อวิทยาศาสตร์: Chrysopogon aciculatus (Retz.) Trin.
วงศ์: POACEAE
ชื่ออื่น: หญ้ากร่อน;หญ้ากระเตรย;หญ้าก่อน (ภาคเหนือ);หญ้าขี้ครอก;หญ้าขี้เตรย (ภาคใต้);หญ้านกคุ่ม (ภาคกลาง);หญ้าน้ำลึก (ตราด)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้นทอดนอนไปตามพื้นดินได้ไกลๆ ลำต้นเก่ามีกาบแก่หุ้ม ลำต้นตั้งตรงไม่ค่อยแตกแขนง
ใบ: มักมีมากที่โคนต้น กาบใบยาว 3-6 เซนติเมตร หุ้มรอบลำต้น มีลายตามยาว บางทีมีสีม่วง มีขนยาวนุ่มประปราย ที่รอยต่อระหว่างก้านใบกับตัวใบ ตัวใบกว้าง 3-5 มิลลิเมตร ยาว 2-8 มิลลิเมตร ใบบนสุดเล็กมาก ขอบใบสาก และหยักห่างๆ
ดอก: ออกเป็นช่อตั้งตรงที่ปลายยอด สีม่วงแกมแดง
ผล: รูปขอบขนาน ติดไปกับผ้าได้ง่าย

สรรพคุณทางสมุนไพร 

ราก : แก้ท้องเสีย ,ต้น : เป็นยาขับปัสสาวะ และถอนพิษบางชนิด เถ้าจากต้นกินแก้ปวดข้อ
แก้ไข้ทับระดู
หญ้าเจ้าชู้มาหนึ่งกำมือ ล้างให้สะอาดมัดเป็นสามเปลาะใส่หม้อต้ม ใส่น้ำให้ท่วมตัวยา ต้ม  10 นาทีแล้วตักกินครั้ง  1  แก้ว ถ้ากินหนึ่งแก้วให้แก้มัดหนึ่งเปลาะพอกินครบสามเปลาะอาการจะหายทันที