งวงสุ่ม
ชื่ออื่น
ติ่งตั่งตัวผู้ (เหนือ); งวงสุ่มขาว เมี่ยงชนวนไฟ สังขยาขาว (พล สท); งวงสุ่ม (ตะวันออกเฉียงเหนือ) งวงชุม (ขอนแก่น) มันเครือ (นครราชสีมา) ดวงสุ่ม (อุบลราชธานี) ดอกโรค (เลย) ข้าวตอกแตก (กลาง) เถาวัลย์นวล (ราชบุรี) ประโยค (ตราด) หน่วยสุด (ใต้) กรูด (สุราษฎร์ธานี) ตะกรูด (นครศรีธรรมราช) มันแดง (กาญจนบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Calycopteris floribunda (Roxb.) Lam.
ชื่อวงศ์
Combretaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้เถาเนื้อแข็ง ขนาดใหญ่ สูง 1-5 เมตร เปลือกสีน้ำตาลมีขนปกคลุ่ม กิ่งอ่อนมีขน ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือกึ่งตรงข้าม รูปไข่หรือรูปวงรี กว้าง 2-7 เซนติเมตร ยาว 6-17 เซนติเมตร ด้านบนมีขนนุ่มหนาแน่นเมื่อยังอ่อนอยู่ ท้องใบมีขนสีน้ำตาลแกมเหลืองหนาแน่น ปลายใบสอบแหลม ฐานใบมน ขอบใบเรียบมีลักษณะเป็นคลื่น ดอกช่อขนาดใหญ่แบบแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยงสีเขียวแกมเหลือง ไม่มีกลีบดอก มีริ้วประดับ สีเหลืองปนเขียว 5 กลีบ เกสรเพศผู้มี 10 อัน เรียงเป็น 2 วง วงละ 5 อัน ผลแห้ง รูปกระสวย มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ มีเมล็ดเดียว ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ลำต้นนำมาใช้ทำเครื่องจักสานได้
สรรพคุณทางสมุนไพร ไม้เถาเนื้อแข็ง ขนาดใหญ่ สูง 1-5 เมตร เปลือกสีน้ำตาลมีขนปกคลุ่ม กิ่งอ่อนมีขน ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือกึ่งตรงข้าม รูปไข่หรือรูปวงรี กว้าง 2-7 เซนติเมตร ยาว 6-17 เซนติเมตร ด้านบนมีขนนุ่มหนาแน่นเมื่อยังอ่อนอยู่ ท้องใบมีขนสีน้ำตาลแกมเหลืองหนาแน่น ปลายใบสอบแหลม ฐานใบมน ขอบใบเรียบมีลักษณะเป็นคลื่น ดอกช่อขนาดใหญ่แบบแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยงสีเขียวแกมเหลือง ไม่มีกลีบดอก มีริ้วประดับ สีเหลืองปนเขียว 5 กลีบ เกสรเพศผู้มี 10 อัน เรียงเป็น 2 วง วงละ 5 อัน ผลแห้ง รูปกระสวย มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ มีเมล็ดเดียว ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ลำต้นนำมาใช้ทำเครื่องจักสานได้
ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ ราก ต้มน้ำดื่ม แก้กามโรค
ยาพื้นบ้านล้านนา ใช้ ลำต้นและราก ผสมกับ ลำต้นเปล้าลมต้น ลำต้นเปล้าลมเครือ ลำต้นรางแดง ลำต้นแหนเครือ ลำต้นบอระเพ็ด ลำต้นหนาด ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเมื่อย
ยาพื้นบ้านนครราชสีมา ใช้ ใบ แก้แผลเรื้อรัง นำใบตำให้ละเอียดผสมกับเนยทาแผล
องค์ประกอบทางเคมี
ดอกมีสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเนื้องอก