Pages

มะเกลือ

มะเกลือ
clip_image002clip_image004
ชื่ออื่น
ชื่อวิทยาศาสตร์
Diospyros mollis Griff
ชื่อวงศ์
Ebenaceae
ลักษณะทางพฤฏษศาสตร์
ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 8-15 เมตร อาจสูงได้ถึง 30 เมตร ผลัดใบหรือไม่ผลัดใบ เปลือกสีดำ แตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ตามยาว แก่นสีดำสนิท เนื้อละเอียดมันสวยงาม ทุกส่วนของมะเกลือเมื่อแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ใบอ่อนและกิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 1.5-4 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนสอบมน ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 5-10 เซนติเมตร ใบอ่อนมีขนสีเงิน ใบแก่หนา ผิวเรียบมัน ด้านใต้ใบสีเขียวซีด บางเกลี้ยง เมื่อแห้งสีออกดำเงิน เส้นใบข้าง 10-15 คู่ ก้านใบยาว 0.5-1 เซนติเมตร ดอก สีขาวหรือเหลืองอ่อน แยกเพศอยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้ออกรวมเป็นช่อสั้นๆ ตามซอกใบ ประมาณ 3 ดอก กลีบเลี้ยง 4 กลีบ กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปเหยือกน้ำปลายแยก 4 กลีบ โค้งไปข้างหลัง หลอดกลีบดอกกลม 6-8 มิลลิเมตร แยกลึกทั้งสองด้าน ½ ของหลอดกลีบ เกสรตัวผู้มี 14-24 อัน เป็นหมัน 8-10 อัน ไม่มีขน ดอกเพศเมีย ออกเป็นดอกเดี่ยวคล้ายดอกเพศผู้แต่มีขนาดใหญ่กว่า มีขนนุ่มปกคลุม สีเหลือง ก้านดอกยาว 1-3 มิลลิเมตร ก้านเกสรตัวเมีย 4 แฉก รังไข่มีขน ผลสด รูปทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ผิวเรียบเกลี้ยง กลีบจุกผลมีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ติดที่ขั้วของผล ผลดิบสีเขียว ผลสุกสีเหลืองอมดำ มีเมล็ด 2-3 เมล็ด ชั้นกลีบเลี้ยงขนาด 5 มิลลิเมตร โค้งไปด้านหลัง พบทั่วไปในที่กึ่งโล่งแจ้ง ในป่าผลัดใบ ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบ ออกดอกช่วงเดือนมกราคมถึงสิงหาคม
สรรพคุณทางสมุนไพร
ผลสดสีเขียว รสขื่นเฝื่อนเบื่อฝาด ขับพยาธิในไส้เดือน พยาธิปากขอ พยาธิเส้นด้าย ถ่ายตานซาง ถ่ายกระษัย ให้นำ ผลดิบ สด ไม้ช้ำ ไม่ดำ กรณีใช้ถ่ายพยาธิ ใช้เท่าจำนวนอายุแต่ไม่เกิน 25 ผล โดยนำผลมะเกลือมะโขลกพอแหลก คั้นเอาน้ำมาผสมกับหัวกะทิสด ดื่มก่อนอาหารเช้าทันที เตรียมใหม่ๆดื่ม ห้ามเก็บไว้จะเกิดพิษ หาก 3 ชั่วโมง ยังไม่ถ่าย ให้ใช้ยาถ่ายตาม (แต่ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี, สตรีตั้งครรภ์, ผู้ป่วย, อย่าใช้มากเกินขนาด, คนที่มีอาการแพ้อาจทำให้ท้องเสีย, มีอาการตามัว ถ้ารุนแรงทำให้ตาบอดได้ ควรนำส่งแพทย์ทันที) ผลสุกสีดำ ใช้ย้อมผ้า ย้อมแห ไม่นำมารับประทาน เพราะมีพิษ ทำให้ตาบอดได้ ราก รสเมาเบื่อ ฝนกับน้ำซาวข้าว รับประทานแก้อาเจียน แก้ลม แก้กระษัย แก้ริดสีดวงทวาร แก้พิษตานซาง ขับพยาธิ ลำต้น แก้ซางตานขโมย แก้กระษัย ถ่ายพยาธิไส้เดือน ต้มน้ำอาบรักษาโรคดีซ่าน เมล็ด รสเมามัน ขับพยาธิในท้องเปลือกต้น รสฝาดเมา เป็นยากันบูด แก้กระษัย ขับพยาธิ แก้พิษตานซาง แก้เบื่ออาหาร ขับเสมหะ แก้พิษ ทั้งต้น รสฝาดเมา ขับพยาธิ แก้ตานซาง แก้กระษัย แก่น รสฝาดเค็มขม เมา ขับพยาธิ แก้ตานซาง แก้ลม แก้ฝีในท้อง แก้ซางตานขโมยราก รสเมาเบื่อ ฝนกับน้ำข้าวกิน แก้อาเจียน แกเป็นลม หน้ามืด แก้กระษัย แก้ริดสีดวงทวาร แก้พิษตานซาง ขับพยาธิ
องค์ประกอบทางเคมี มีสาร diospyrol diglucoside ซึ่งเป็นสารฟีนอลิค ในกลุ่ม naphthalene เนื่องจากโครงสร้างของ diospyrol คล้ายคลึงกับสาร napthol ซึ่งเป็นสารมีพิษต่อประสาทตา การกินมะเกลือมากเกินไป หรือหากสารถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดการอักเสบของเรตินาได้