บวบงู
ชื่อวิทยาศาสตร์ Trichosanthes anguina Linn.
ชื่อวงศ์ Cecerbitaceae
ชื่ออื่น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
บวบงูเป็นไม้เถาลำต้นเล็ก มีกิ่งก้านสาขามาก มีขนที่สั้นแต่นุ่มปกคลุม มือเกาะแยกเป็น 2-3 แขนง ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน รูปไข่กว้างรูปไต หรือรูป 5 เหลี่ยม กว้าง 12-18 ซม.ยาว 10-15 ซม. ดอกมีสีขาว ขอบใบมีรอยเว้ามน 3-7 รอย โคนใบเว้า มีขนทั้งสองด้าน ดอกมีทั้งดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย อยู่คนละต้น ดอกเพศผู้ออกดอกเป็นช่อ ดอกมีขนาดเล็ก กลีบรองดอกมีฐานเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5กลีบ ปลายกลีบแผ่กว้างกว่าโคนกลีบ มีขน กลีบดอกมี 5 กลีบ สีขาวรูปขอบขนาน ดอกเพศเมีย เป็นดอกเดี่ยวกลีบดอกและกลีบรองดอกเหมือนกันกับดอกเพศผู้ รังไข่รูปยาว ภายในมีเพียง 1ช่อง มีไข่อยู่จำนวนมาก ผล ทรงกระบอกยาว แหลมหัวแหลมท้ายยาวถึง 1เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 ซม. สีขาวอมเขียวอ่อนๆ มีลายสีเขียวเป็นทางยาว ผลมักบิด และคดงอ มีลักษณะคลเายงู เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีส้ม เมล็ด รูปไข่แบน กว้างประมาณ 0.8 ซม. ยาวประมาณ 1.2 ซม.
สรรพคุณทางสมุนไพร
- แก้ท่อน้ำดีอุดตัน
- ขับพยาธิ
- ช่วยระบายความร้อนจากร่างกาย
- เป็นพืชที่มีแคลอรี่และไขมันต่ำ จึงเหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก
- มีไฟเบอร์สูง ทำให้ย่อยง่าย ดีต่อระบบขับถ่าย เหมาะกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
- น้ำที่สกัดจากใบของบวบงู ช่วยลดอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหัวใจ เช่นใจสั่น
- รากบวบงูเป็นยาชูกำลังและยาระบายอ่อน ๆ
- น้ำที่สกัดจากบวบงู เมื่อนำมาใช้นวดผม จะช่วยผมร่วงและกำจัดรังแค
- ช่วยล้างสารพิษได้ดี จึงเหมาะที่จะใช้ในกระบวนการดีท็อกซ์
คำเตือน หากรับประทานเมล็ดบวบงูเข้าไปปริมาณมาก จะทำให้มีอาการคลื่นไส้และท้องเสียได้
suwit