Pages

มันปู

















 


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Glochidion  Perakense  Hook. f. 
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น  ชุมเส็ด,พุงหมู, นกนอนทะเล , ยอดเทะ(ยอดกะทิ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

มันปูเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ ต้นสูงประมาณ 15 เมตร ปลายกิ่งห้อยลง  
ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับสองข้างของกิ่ง ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม โคนใบมนกว้าง 3.5-5 ซม. ใบยาว 7-14 ซม. แผ่นใบรูปรี ถึงรูปไข่กลับ ยาว 5-10 ซม. กว้าง 4-5.5 ซม. ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบ 5-7คู่ ก้านใบสั้นมีความยาวประมาณ 3-5 มม. หน้าใบมีสีเขียวอ่อนกว่าหลังใบ ใบอ่อนและก้านอ่อนมีสีแดงหรือสีม่วงอมแดง เมื่อใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียว
ดอกเป็นดอกช่อขนาดเล็กมีสีเขียวอ่อนแยกเพศอยู่ต้นเดียวกันออกเป็นกระจุกตามง่ามใบและจะออกดอกระหว่างเดือน มีนาคม-ตุลาคม กลีบเลี้ยงมี 6 กลีบ ไม่มีกลีบดอก 
ผล  ผลแก่จะมีสีชมพูถึงแดง มีลักษณะกลมแป้น สูง 1.2-1.5 ซม. กว้าง 1.5-2 ซม. ผลกลมแป้นแบ่งเป็นพู 10-12 พู ผลจะแตกเมื่อแห้ง มี 10-12 เมล็ด เมล็ดมีขนาดเล็ก ค่อนข้างกลม มีเยื่อสีแดงหุ้มติดที่ปลายของแกนผล มันปูมันจะขึ้นในป่าพรุน้ำกร่อย ป่าโปร่ง ป่าดิบ ที่ราบแถบเชิงเขา
ชาวใต้นำใบอ่อน(ยอดมันปูที่มีสีขาว) ไปกินกับน้ำพริก หรือใช้เป็นเครื่องเคียงแกงเผ็ดและขนมจีน

สรรพคุณทางสมุนไพร
- รากและลำต้นมาต้มดื่มแก้ร้อนใน เป็นยาบำรุง
- เป็นผักที่มีใยอาหารสูง    มันปู’    จึงมีประโยชน์ในด้านโภชนาการสูง   กล่าวคือทำให้รู้สึกอิ่มเร็ว 
ดูดซับสารต่างๆได้ดี และสามารถดึงน้ำไว้ในลำไส้ได้เป็นจำนวนมาก ทำให้กระตุ้นให้มีการถ่ายอุจจาระอย่างสม่ำเสมอ ท้องไม่ผูก    ลดโอกาสที่สารพิษต่าง        จะสัมผัสกับลำไส้      จึงช่วยลดการเป็นโรคลำไส้โป่งพอง มะเร็งลำไส้ใหญ่ และริดสีดวงทวาร นอกจากนี้วิตามินบีสองในมันปูยังป้องกันโรคปากนกกระจอกอีกด้วย
- ใบมันปูมีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณมาก หากรับประทานเป็นประจำจะสามารถป้องกันโรคม­­ะเร็งได้