Pages

ขี้มูกมุดสัง

ชื่อท้องถิ่น
ขี้มูกมุดสัง ดอกฟุ้งย่าน ดอกฟุ้งเถา
ชื่อวงศ์
ไม่มี
ชื่อวิทยาศาสตร์
ไม่มี
ลักษณะลำต้น
เป็นพืชตระกูลหญ้า แตกยอดออกตามกิ่งย่านที่เลื้อยไปตามผิวดินหรือพาดพิงไม้อื่น ลำต้นสูงประมาณ 1 เมตร ก้านใบจะติดกับลำต้น
ลักษณะใบ
ใบรีปลายแหลม ขนาดประมาณ 1.5x3.5 นิ้ว เส้นใบจะเป็นร่องมองเห็นได้ชัด ขอบใบเป็นหยักแหลม หน้าใบผิวขรุขระเล็กน้อย หลังใบมีก้านใบนูน
ลักษณะดอก
ขนาดเล็กประมาณ 1 เซนติเมตร ดอกออกตอนปลายยอด เวลาบานดอกสีเหลืองอมแดง
ลักษณะผล
ไม่มี
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร
ยอดอ่อน ใบ
ใช้เป็นอาหารประเภท
ยอดใช้เป็นผักเหนาะแกงกะทิ
รสชาติ
จืดเย็น กลิ่นหอม คล้ายผักกาดนกเขา หรือหญ้าดอกฟุ้ง
ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์
เมล็ดที่ดอก และใช้ต้นติดราก
พื้นที่ที่เจริญเติบโตได้ดี
บริเวณป่าเชิงเขา ป่าพรุ
ฤดูกาลที่ให้ผลผลิต
ตลอดปี
ส่วนที่เป็นพิษ
ไม่มี
สรรพคุณทางสมุนไพร
ใบและยอดอ่อน แก้พิษแก้บวมตามข้อ แก้ไข้หวัด แก้เจ็บคอ แก้แผลเรื้อรัง ห้ามเลือด แก้คอตีบ เจ็บคอ ตำพอกแก้ตาปลา แก้ปากเป็นแผลอักเสบรม แก้ปวดข้อ ปวดกระดูก ปวดเส้นเอ็น เคล็ดยอก บวม แก้โรคเรื้อน ตำเอาน้ำหยอดแก้หูอักเสบ ลำต้น ต้มดื่มน้ำ แก้โรคกระเพาะอาหาร ราก คั้นเอาน้ำดื่ม แก้บิด แก้ท้องเสีย ทาตามตัวลดไข้