Pages

ผักแว่น

ผักแว่น
ชื่อสามัญ : : Water clover, Clover fern
ชื่อวิทยาศาสตร์ : : Marsilea crenata Presl
วงศ์ : MARSILEACEAE
ชื่ออื่น

ลักษณะทั่วไป
  เป็นเฟิร์นน้ำชนิดหนึ่ง ชอบขึ้นตามชายตลิ่ง หรือที่แฉะที่น้ำท่วมขัง มักพบเป็นวัชพืชในนาข้าว ลำต้นเป็นก้านยาวเลื้อยไปตามพื้น แตกรากและใบตามข้อหรือตาที่แตะกับพื้นและงอกเป็นต้นใหม่ มีก้านใบยาว แตกกิ่งก้านทอดเลื้อยตามพื้นดิน หรือบนผิวน้ำ มีราก และใบงอกออกตรงข้อ ลำต้นมีกลิ่นหอมคล้ายรำ เมื่อยังอ่อนมีสีเขียว ตอนแก่มีสีน้ำตาล มีขนอ่อนปกคลุม ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อย 4 ใบ ใบย่อยรูปร่างแบบสามเหลี่ยมปลายใบโค้งกลม ยาว 5-15 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายลิ่ม แตกออกจากปลายก้านใบจุดเดียวกัน โคนใบสอบเข้าหากัน ชอบใบเรียบ หรือเป็นคลื่น หรือเป็นจักฟันเลื่อย ไม่มีดอก แต่จะมีอับสปอร์เป็นเม็ดสีดำ คล้ายเมล็ดถั่วเขียว ออกเป็นช่อที่โคนก้านใบ มีก้านชู ขณะยังอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลดำ

ประโยชน์ทางสมุนไพร
   ใช้รับประทานเป็นผัก ผักแว่น 100 กรัม ให้ พลังงาน 15 กิโลแคลอรี่ โปรตีน 1 กรัม แคลเซี่ยม 37 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 66 มิลลิกรัม เหล็ก 3.5 มิลลิกรัม ไนอาซีน 3.4 มิลลิกรัม วิตามินซี 3 มิลลิกรัม เบต้า-คาโรทีน 98.73 หน่วย RE ต้นของผักแว่นมีสรรพคุณรักษาแผลในปาก ช่วยระบายความร้อน ดับพิษไข้ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ผักแว่นเป็นอาหารที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กและผู้สูงอายุ เพราะผักแว่นเมื่อนำมาปรุงอาหารแล้วจะมีลักษณะอ่อนนิ่ม ทำให้รับประทานง่าย โดยนำมาปรุงเป็นแกง หรือนำมารับประทานเป็นผักสดแกล้มกับน้ำพริกต่างๆ เช่น น้ำพริกปลาทู น้ำพริกปลาร้า น้ำพริกกะปิ หรือแกล้มกับอาหารประเภทลาบและส้มตำ