Pages

มันแกว


มันแกว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pachyrhizus erosus L. Urb.

ชื่อวงศ์ :
Leguminosae

ชื่อสามัญ :
Jicama, Yam bean

ชื่ออื่น : มันแกว (กลาง)
, หัวแปะกัวะ (ใต้),มันแกวละแวก มันแกวลาว (เหนือ), มันเพา (อีสาน)เครือเขาขน หมากบัง(เพชรบูรณ์) ถั่วกินหัว ถั่วบ้ง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

มันแกวเป็นพืชตระกูลถั่ว ลักษณะต้นเป็นเถาเลื้อย มีหัวใต้ดิน เป็นรากสะสมอาหาร โคนตันเนื้อแข็ง ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ เรียงสลับ ดอกมีสีขาวหรือชมพูเป็นช่อ รูปร่างของดอกคล้ายดอกบัว ผลเป็นฝักแบน มีขนปกคลุม ในหนึ่งฝักจะประกอบไปด้วยเมล็ดสีเหลือง สีน้ำตาล หรือสีแดงลักษณะสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบน ประมาณ 8-10 เมล็ด โดยต้นมันแกว 1 ต้นมีเพียงหัวเดียว ส่วนที่ใช้รับประทานคือส่วนของรากแก้ว
แหล่งที่พบ
ถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ในอเมริกาเขตร้อน ฟิลิปปินส์ อินเดีย จีน อินโดนีเซีย และ ไทย นิยขมปลูกเพื่อทานในส่วนของหัวสะสมอาหารใต้ดิน
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : เมล็ด และ หัว

สารสำคัญ
เมล็ดมีสาร
Pachyrrizin และ rotenone ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าแมลงได้เป็นอย่างดี และ Pachysaponin A และ B ซึ่งเป็นพิษต่อปลา แต่ถ้าคนทานเมล็ดแก่ของมันแกวเข้าไป จะส่งผลทำให้เม็ดเลือดแดงแตก เกิดอาการช็อคหมดสติและหยุดหายใจได้
สรรพคุณทางยาสมุนไพร
มันแกวมีวิตามิน C และเส้นใยสูง มีประโยชน์ต่อระบบขับถ่าย และป้องกันไข้หวัดได้ดีมาก ส่วนใบของมันแกวนั้นมีคุณสมบัติในการรักษาโรคผิวหนังอย่างกลาก เกลื้อน และยังเป็นยาถ่ายพยาธิที่มีสรรพคุณดีตัวหนึ่ง
เมล็ด ใช้เมล็ดบดทาผิวหนังรักษาหูด