Pages

มะละกอ

มะละกอ

ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Carica papaya l.inn.

ชื่อวงศ์ :
Caricaceae

ชื่ออื่น : มะก๊วยเต๊ด ก๊วดเทด มะก้วยเทศ หมากซางพอ(เหนือ)
, บักหุ่ง (อีสาน), แตงต้น(สตูล), ลอกอ (ใต้) ,กล้วยหลา (ปัตตานี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้ยืนต้นเนื้ออ่อน ลำตันตั้งตรงสูง 3
6 เมตร ไม่แตกกิ่งก้านสาขา ลำต้นกลวงไม่มีแก่น ผิวขรุขระเป็นร่องตามยาวต้นอวบน้ำ มียางขาว ใบเดี่ยวเรียงสลับรอบต้นบริเวณยอด ใบเป็นหยักเว้าลึกคล้ายฝ่ามือ ดอก มีหลายประเภท คือ ดอกตัวผู้ ดอกตัวเมีย และ ดอกสมบูรณ์เพศ โดยดอกตัวผู้จะมีสีเหลืองนวลหรือสีนวล กลิ่นหอม ดอกตัวเมียและดอกสมบูรณ์เพศ จะออกมาเป็นกระจุก หรือ ดอกเดี่ยวสีนวล ผล มีทั้งผลกลม ผลรี แตกต่างกันไปตามสายพันธ์ ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียว เนื้อในเป็นสีขาว เมื่อผลแก่หรือสุกจะมีสีเหลืองส้ม เนื้อในอ่อนนุ่ม น้ำ เมล็ดมีสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม
การเพาะปลูก : ปลูกได้ทุกภาค ชอบดินร่วนปนทราย น้ำไม่ขัง ต้องการแดดจัด ชอบความชุ่มชื้น
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ยางจากใบและผล ผลดิบ ผลสุกเมล็ดแก่

สารสำคัญ : ยางจากใบมะละกอหรือผล มีน้ำย่อยปาปะอิน (
papain) หรือ ที่เรียกว่า ปาปะโยทิน (papayotin) ในส่วนของใบยังมีไกลโคไซด์ ชื่อ carposide และ อัลคาลอยด์ capaine ส่วนผลดิบจะมีสาร petin แต่เมื่อสุกจะมีสาร carotenoid และมีสาร benzyl isothiocyanate ในเมล็ด

สรรพคุณทางยาสมุนไพร
 ยาง ใช้ยาง 5-6 หยด ทาบริเวณที่เป็นหูด วันละ 3-5 ครั้ง แต่ต้องระวังอย่าให้ถูกผิวหนังบริเวณอื่น
ยางสดจากใบหรือผล นำมาทาบริเวณที่ถูกแมลงกัดต่อย เช่น ผึ้ง ต่อ แตน มด ตะขาบ วันละบ่อยครั้ง จะช่วยบรรเทาอาการปวดบวมจนกระทั่งหายได้
เมล็ดแก่ ใช้เมล็ดแก่ จำนวน 1-2 ช้อนชา ม ผึ่งให้แห้ง แล้วนำไปคั่วพอให้บดได้ง่าย แล้วนำไปบดให้ละเอียด เติมน้ำผึ้ง หรือ น้ำเชื่อมลงไปพอประมาณคนให้เข้ากัน ทานติดต่อกัน 2-3 วัน จะช่วยถ่ายพยาธิได้
 ผลสุก ทานเป็นผลไม้เป็นยาระบายอ่อนๆ ป้องกันโรคลักปิดลักเปิด
ผลดิบ ใช้ทำเป็นอาหาจะช่วยย่อยโปรตีนเพราะมีสารช่วยย่อย (papain)
 รากสด ใช้รากสด 3- 6 กรัม (ประมาณ 1 กำมือ) ล้างให้สะอาด ต้มกับน้ำ 1 แก้ว แล้วดื่มให้หมด วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ช่วยขับปัสสาวะ