Pages

ผักเบี้ยหิน(ผักโขมหิน)


ผักเบี้ยหิน




ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
วงศ์ : AIZOACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trianthema portulacastrum Linn.
ชื่ออื่น ๆ : ผักโขมหิน

ชื่อสามัญ : -
 ไม้ล้มลุก ฤดูเดียว เลื้อยทอดไปบนพื้นดิน ยาวถึง 1 เมตร ไม่มีรากงอกจากข้อ ลำต้นกลมสด อวบน้ำ สีเขียวแกมม่วง เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 2-5 มม. ผิวลำต้นเรียบ เป็นมัน กิ่งอ่อนมีขนปกคลุมเล็กน้อย
ใบ  ใบเดี่ยว เรียงตัวแบบตรงข้าม ใบรูปไข่ กลม รูปไข่ หรือรูปไข่กลับ โคนใบมน ปลายใบมน ขอบ ใบเรียบ มีเส้นสีม่วงตามแนวขอบใบ ผิวใบเรียบหรือมีขนเล็กน้อย ใบกว้าง 1-4.5 ซม. ยาว 1.5-5 ซม. ก้านใบยาว 5-12 มม. ก้านใบเป็นร่องเล็กๆด้านบน ใบและยอดอ่อนอ่อนมีขนปกคลุมเล็กน้อย
ดอก  เป็นดอกเดี่ยว เกิดที่ซอกใบ ด้านซ้ายหรือขวาสลับกันในแต่ละข้อ ดอกฝังตัวในหลอด กลีบที่เชื่อมติด กับโคนก้านใบในซอกใบ ไม่มีก้านดอก เส้นผ่าศูนย์กลางดอกบาน 4-5 มม. ข้างๆหลอดกลีบมี ใบประดับ 2 อัน สีม่วง แกมเขียว รูปสามเหลี่ยมกว้าง 1-2.5 มม. ยาว 3-4 มม. หลอดกลีบสีม่วงแกมเขียว ติดกันเป็นรูปถ้วย ยาว 1-1.5 มม. ไม่ ร่วง กลีบดอก 5 กลีบ สีชมพูอ่อนหรือชมพูแกมขาว แยกกัน กลีบรูปขอบขนานปลายแหลม กว้าง 1-1.5 มม. ยาว 2- 3 มม. ตอนปลายกลีบเป็นติ่งแหลมสีม่วง เกสรเพศผู้ จำนวนมาก ติดบนกลีบดอก ก้านชูอับเรณูสีขาวยาว 2-3 มม. อับเรณูสีชมพู เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่ superior ovary มีก้านเกสรเพศเมียยาว 3 มม. ยอดเกสรเป็นเส้น รังไข่รูป ทรงกระบอก 1 ห้อง ออวุล 2-8 อัน axile placentation
ผลและเมล็ด ผลแห้งแบบ turbinate ติดที่ซอกใบภายในหลอดกลีบ เมล็ดกลมหรือรี ค่อนข้างแบน สี ดำ เส้นผ่าศูนย์กลางเมล็ด 1-1.5 มม. จำนวน 2-8 เมล็ด
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ชอบความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ราก
สรรพคุณทางสมุนไพร
 ทั้งต้น ไทยใช้เป็นยาแก้ฟกบวม บำรุงโลหิต ขับลม ในประเทศอินเดีย ใช้ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ โรคท้องมาร เยื่อบุช่องท้องอักเสบ เป็นโรคไต
ราก แก้ลมอัณฑพฤกษ์ เจริญไฟธาตุ ขับเสมหะ และริดสีดวงทวาร
ทำให้ประจำเดือนมาปกติและ เป็นยาถ่าย
ข้อควรระวัง  ผู้หญิงที่กำลังมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน  เพราะอาจทำให้แท้งได้