เสาะเทาะ(น้ำใจใคร่)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Olax scandens Roxb
วงศ์ OLACACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นพันธุ์ไม้เถาเนื้อแข็งที่พึงพิงต้นไม้อื่น สูงถึง 5 เมตร กิ่งอ่อน ค่อนข้างตรงกลม สีเขียว มีขนปกคลุมเล็กน้อย ต้นแก่ มีสีเทา-ดำ ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงตัวแบบสลับ
ผิวใบลื่นเป็นมัน มีสีเขียวเข้มรูปขอบขนานแกมใบหอก ใบอ่อนสีเขียวตองอ่อน ก้านใบ
อ่อนมีขนปกคลุมเล็กน้อย ใบยาวประมาณ 5 -10 ซม. กว้างประมาณ 2-4 ซม. ดอกแตกออกตามข้อของเถา ดอกอ่อนสีเขียวดอกบานสีขาวไม่มีกลิ่น ผล ออกตามลำกิ่ง
รูปกลมหรือรี ปลายแหลมเล็กน้อย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 1-1.5 ซม.และมี
กลีบเลี้ยงหุ้มผลประมาณ 4/5 ของความยาวผล
ส่วนที่ใช้ประโยชน์ ยอดอ่อน, ใบอ่อน(ใบเพสะลาด) มีรสหวานมันและฝาดเล็กน้อย ใช้เป็นผักแกงเลียง
แกงส้ม หรือ กินเป็นผักแนมจิ้มน้ำพริก ( ผักเหนาะ)
สรรพคุณทางสมุนไพร
ลำต้น ใช้ทำยาต้มแก้โรคไตพิการและโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ เปลือก ใช้เป็นยา
แก้ไข้ เนื้อของผล เป็นยารักษาโรคตาแดงชื่ออื่น เจาะเทาะ (พัทลุง, สงขลา - ริมทะเลสาปฯ), เสาะเทาะ (สงขลาตอนใน เช่น
หาดใหญ่ คลองหอยโข่ง), ส้อท่อ (ทุ่งสง นครศรีธรรมราช), ควยถอก (ชุมพร)
กระทอก(ประจวบคีรีขันธ์), กระทอกม้า(ราชบุรี), กะหลันถอก, น้ำใจใคร่(กาญจนบุรี),
นางจุม, นางชม(ภาคเหนือ)