ผักหวานป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Melientha suavis Pierre
ชื่อสามัญ Pak-wan Tree
วงศ์ Opiliaceae
ชื่ออื่นๆ ก้านตรง โถหลุ่ยกะนิ ผักหวานใต้ใบ และมะยมป่า ผักภูมิ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ผักหวานป่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมตร แค่ที่พบโดยทั่วไปมักมีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กหรือเป็นไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่ง เด็ดยอด เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อน ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค ใบของผักหวานป่าเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ใบอ่อนรูปร่างแคบรี ปลายใบแหลม สีเขียวอมเหลือง ใบแก่เต็มที่รูปร่างรีกว้างถึงรูปไข่หรือรูปไข่กลับ ใบสีเขียวเข้ม เนื้อใบกรอบ ขอบใบเรียบ ปลายใบมน ขนาดของใบประมาณ 2.5-5 ซม. x 6-12 ซม. ก้านใบสั้น ช่อดอกแตกกิ่งก้านคล้ายช่อดอกมะม่วงหรือลำไย และเกิดตามกิ่งแก่ หรือตามลำดับต้นที่ใบร่วงแล้ว ดอกมีขนาดเล็กเป็นตุ่มสีเขียวอัดกันแน่นเป็นกระจุกขณะที่ยังอ่อนอยู่ ผลเป็นผลเดี่ยว ติดกันเป็นพวง เหมือนช่อผลของมะไฟหรือลางสาด แต่ละผลมีขนาดประมาณ 1.5 x 2.5 ซม. ผลอ่อนสีเขียวมีนวลเคลือบและเมื่อผลสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองถึงเหลืองอมส้ม แต่ละผลมีเมล็ดเดียว
คุณค่าทางอาหาร
ผักหวานป่าจัดเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านแหล่งโปรตีน วิตามินซี และพลังงาน นอกจากนี้ยังมีปริมาณเยื่อใยพอสมควร ช่วยในการขับถ่ายให้ดีขึ้น ในยอดและใบสดที่รับประทานได้ 100 กรัม ประกอบด้วยน้ำ 76.6 กรัม โปรตีน 8.2 กรัม คาร์โบไฮเดท 10 กรัม เยื่อใย 3.4 กรัม เถ้า 1.8 กรัม แคโรทีน 1.6 มก. วิตามินซี 115 มก. และค่าพลังงาน 300 กิโลจูล (KJ) อย่างไรก็ตามการบริโภคผักหวานป่าควรปรุงให้สุกเสียก่อน เนื่องจากการบริโภคสด ๆ ในปริมาณมากอาจทำให้เกิดการเบื่อเมา เป็นไข้ และอาเจียนได้ การนำผักหวานป่ามาปรุงอาหารนั้น ใช้ได้ทั้งส่วนที่เป็นยอดและใบอ่อน นำช่อผลอ่อน ๆ สำหรับผลแก่อาจลอกเนื้อทิ้งนำเมล็ดไปต้มรับประทานได้เช่นเดียวกับเมล็ดขนุน มีรสหวานมัน การปรุงอาหารจากผักหวานป่า นอกจากต้ม ลวก เป็นผักจิ้มน้ำพริกแล้ว อาจนำไปทำแกง แกงเลียง หรือต้มจืดได้เช่นกัน
ประโยชน์
ผักหวานป่าเป็นเครื่องยาไทยจำพวกผัก จะใช้ส่วนรากมาทำยา รากมีรสเย็น สรรพคุณ แก้ไข้ แก้ดีพิการ แก้เชื่อมมัว แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้กระสับกระส่าย พบว่าผักหวานป่าจัดเป็นทั้งอาหารและยาประจำฤดูร้อน แก้อาการของธาตุไฟได้ตามแพทย์แผนไทย ส่วนยอดก็นิยมนำมาปรุงอาหาร มีรสหวานกรอบ ช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำ และระบายความร้อนหรือใช้ปรุงเป็นยาเขียวเพื่อลดไข้ ลดความร้อน ปัจจุบันพบว่ามีการนำมาพัฒนาเป็นชาผักหวานป่า ทำเป็นเครื่องดื่มต้านอนุมูลอิสระ
สรรพคุณทางสมุนไพร
ส่วนของลำต้นจะใช้แก่นผักหวาน ต้มรับประทานน้ำเป็นยาแก้ปวดตามข้อหรือปานดงหรือจะใช้ต้นผักหวานกับต้นนมสาวเป็นยาเพิ่มน้ำนมแม่หลัง
คลอดบุตร รากต้มรับประทานน้ำเป็นยาเย็นแก้พิษร้อนในแก้น้ำดีพิการ และแก้ปวดมดลูก
ส่วนที่ใช้ประโยชน์ : ลำต้น ใช้ประโยชน์ในทางเป็นพืชสมุนไพรอย่างหนึ่ง ยอดอ่อน ดอกอ่อน และ ผลอ่อนใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น ต้ม ผัด แกง ทอด ส่วน ผลสุกนำมาต้มให้สุกและรับประทานเนื้อข้างใน
คลอดบุตร รากต้มรับประทานน้ำเป็นยาเย็นแก้พิษร้อนในแก้น้ำดีพิการ และแก้ปวดมดลูก
ส่วนที่ใช้ประโยชน์ : ลำต้น ใช้ประโยชน์ในทางเป็นพืชสมุนไพรอย่างหนึ่ง ยอดอ่อน ดอกอ่อน และ ผลอ่อนใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น ต้ม ผัด แกง ทอด ส่วน ผลสุกนำมาต้มให้สุกและรับประทานเนื้อข้างใน