Social Icons

ขมิ้น


ขมิ้น
ชื่อสามัญ :  Turmeric,Curcuma

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma Longa Linn
วงศ์ :
  ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น ๆ : ขมิ้นหัว,ขมิ้นแกง,ขมิ้นหยวก (เชียงใหม่) ขมิ้น (กลาง) หมิ้น,ขี้มิ้น (ภาคใต้) สะยอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ตา ยอ (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร)
ลักษณทางพฤกษศาสตร์
ต้น: เป็นพรรณไม้ล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดินมากเป็นพรรณไม้เดียวกันกับว่านหรือขิง มีลำต้นสูงประมาณ 50-70 ซม. เนื้อในจะมีสีเหลืองอมส้ม และมีกลิ่นหอม ใบ:  เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ รูปหอกแกมขนานกัน กว้างประมาณ 8-10 ซม. และยาวประมาณ 30-40 ซม. ก้านใบยาวราวประมาณ 8-15 ซม. เป็นก้านใบแคบ ๆ มีร่องแผ่คลี่ออกเล็กน้อย หน้าแล้งใบนั้นจะแห้งเหลือเหง้าใต้ดินอยู่ ดอก:     จะออกเป็นช่อใหญ่สวย ก้านช่อนั้นจะยาวพุ่งออกมาจากใต้ดิน ก้านช่อดอกมียาวประมาณ 5-8 ซม.ส่วนใบประดับสีเขียวอ่อน ๆ หรือ สีขาว ตรงปลายช่อดอกจะมีสีชมพูอ่อน จะจัดเรียงซ้อนกันอย่างระเบียบ ใบประดับ 1 ใบ จะมีดอกอยู่ 2 ดอก ใบประดับย่อยนั้นรูปขอบจะขนานยาว 3-3.5 ซม. กลีบรองกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ มีขน กลีบดอกจะมีสีขาว ตรงโคนเชื่อมติดกันเป็นท่อยาว ปลายของมันจะแยกเป็น 3 ส่วน

การขยายพันธุ์ :
ก่อนที่จะปลูกควรทำการด้ายหญ้า เพื่อเป็นการกำจัดวัชพืชและทำการไถพรวนดิน มีความลึกประมาณ 20-30 ซม. แล้วปล่อยไว่นานหนึ่งอาทิตย์ ให้ดินแห้งเป็นการทำลายพวกแมลงและราบางชนิด หลังจากนั้นก็ทำการยกร่องให้สูงประมาณ 25 ซม. กว้าง 45-50 ซม. ท่อนพันธุ์ที่คัดปลูกควรจะมีอายุ 11-12 เดือน แล้วตัดเป็นท่อน ๆ โดยให้มีตาประมาณท่อนละ 1-2 ตา ก่อนที่จะลงมือปลูกควรแช่ท่อนพันธุ์ด้วยน้ำยาไดโฟลาแทน (Difolatan) เพื่อเป็นการป้องกันโรครากเน่า ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในร่องก่อนที่จะปลูก ควรจะปลูกต้นฤดูฝนราวพฤษภาคม ถ้าปลูกช้าฝนจะตกหนัก จะทำให้ขมิ้นที่ปลูกไว้เน่าตายได้ ระยะของการปลูก 900 ตารางเซนติเมตร หรือ 1225 ตารางเซนติเมตร ขุดหลุมลึกราว 6-8 เซนิเมตร หลังการปลูกได้ เจ็ดเดือน ขมิ้นจะเริ่มออกใบสีเหลือง แสดงว่าหัวของขมิ้นนั้นเริ่มแก่แล้ว ปล่อยทิ้งไว้ในแปลงจนกระทั่งมีอายุ 9-10 เดือนจึงทำการขุดได้

ส่วนที่ใช้ :

เหง้าที่แก่จัด ใช้ทั้งสดและแห้ง เหง้าแห้งนิยมปนเป็นผง

สรรพคุณ

       มีการศึกษาพบว่า หากให้รับประทานขมิ้นพร้อมกับ อาหารจะช่วยป้องกันมะเร็งในลำไส้ และยังทำลาย ไวรัสที่ปนเปื้อนมากับอาหารได้ การกินอาหารที่ใส่ขมิ้น จึงน่าจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ นอกจากจะ ใช้ แต่งกลิ่นสีให้อาหารเท่านั้น เนื่องจากเหง้าขมิ้นมีสารที่ยับยั้งการหลั่งของกรด จึงใช้ในการรักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้ท้องอืด ท้องเฟื้อ และยังช่วยเจริญอาหารด้วยขมิ้นยังมีผลดีต่อผิวหนัง คือ ช่วยรักษาโรคผิวหนัง แก้อาการผื่นคัน รักษากลากเกลื้อน รักษาแผลสด ระงับเชื้อ รักษาพิษโลหิตและเสมหะ ทั้งนี้ยังใช้ขับระดูสำหรับสตรีที่มีกลิ่นเหม็น และมีเลือดจับกันเป็นก้อนสีดำ จะช่วยละลายให้เลือดแตกเป็นลิ่ม ๆ ออกมา แก้บิดเป็นมูกเลือด แก้น้ำดีพิการ ช่วยขับลมให้ผายออกมาทางทวารหนัก หรือ ให้เรอออกมาทางปาก ฝนขมิ้นแล้วหยอดตา แก้อาการตาแดง ตาเปียกแฉะ มีขี้ตาเป็นประจำในฤดูแล้ง นอกจากแก้โรคแผลในลำไส ้และกระเพาะแล้วยังแก้ธาตุพิการ ท้องร่วงด้วย ถ้าหากมีอาการของไข้หวัด ขมิ้นก็สามารถใช้ดมแก้หวัด ขับเสมหะในลำคอ ผสมสมุนไพรอย่างอื่น ๆ เป็นยาคุมธาตุ แถมยังแก้อาการฟกช้ำดำเขียวตามร่างกาย ด้วยการเอาหัวสด ๆ มาตำพอกบรรเทาอาการอักเสบและเคล็ดขัดยอกไว้ด้วย นอกจากนี้ขมิ้นยังมีฤทธิ์ต้านวัณโรค แก้อาการไม่สบาย ลดไข้ รักษาไข้ผอมเหลือง บรรเทาอาการวิงเวียน ดมแก้หวัด ระงับอาการชัก รักษาฟัน แก้หญิงที่ตกโลหิต รักษาอาการโลหิตออกทางทวารหนักและเบา
เหง้า  ใช้รักษาแผลในลำไส้ เจริญอาหาร ขับลม คล้ายกล้ามเนื้อเรียบในลำไส้ที่เกร็งตัว บรรเทาอาการวิงเวียน ไม่สบายมีฤทธิ์ต้านวัณโรค ระงับเชื้อ รักษาโรคผิวหนัง แก้หวัด ผื่นคัน เป็นยาบำรุง รักษากลากเกลื้อน ระงับอาการชัก ขับปัสสาวะ ลดไข้ ฆ่าเชื้อพยาธิ ป้องกันโรคหนองใน อาการฟกช้ำ รักษาแผลสด แก้ท้องขึ้น บรรเทาอาการท้องขึ้น ทำให้ผายลม รักษาไข้ผอมเหลือง ไข้ท้องมาน รักษาพิษ เสมหะและโลหิต ใช้เป็นยาขัดฟัน รักษาแผลในกระเพาะอาหาร รักษาฟัน แก้หญิงที่ตกโลหิต รักษาโลหิตออกทางทวารหนักและโลหิต นอกจากจะใช้เดี่ยวๆ แล้วขมิ้นยังเป็นส่วยผสมของตำรับยาสมุนไพร รักษาโรคต่าง ๆ คือ เหง้าจะมีส่วนผสมของน้ำมันมะพร้าว ใช้เป็นยาสมานแผลสดและแผลถลอก หรือใช้ผสมกับยานวดเพื่อเพื่อคลายเส้นยาคุมธาตุ รักษาเคล็ดขัดยอก รักษาชันนะตุในเด็ก บรรเทาอาการปวดฟัน และเหงือกบวม รักษาเคล็ดขัดยอก หรือน้ำกัดเท้า ส่วนในเหง้าขมิ้นนั้นจะมีสารสีเหลืองซึ่งเราเรียกว่า curcumin และ resin นอกจากนี้ยังมีน้ำมันระเหยประมาณ 5% ซึ่งประกอบด้วย borneol,camphene, zingerene,l.4cineol,sabinene และ phellandrene สารที่อยู่ภายใน หัวขมิ้นเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการทดสอบกรดบอริก ที่มีในผงชูรสปลอก ใบ ใช้ผสมกับยานวดเพื่อคลายเส้น ใช้ผสมเป็นยาอายุวัฒนะ รักษามะเร็ง ริดสีดวงทวารปวดมวนรักษาซาง และฝีดาษ และชักอาการไข้ รักษาผมที่หงอก ผมร่วง ผมคัน รักษามุตกิด ท้องอืด ท้องเฟ้อ รักษาแผลโรคผิวหนังผื่นคันบำรุงผิว รักษาอาการท้องเดิน ปวดท้อง ธาตุพิการ อุจจาระเป็นมูกโลหิต ลดอาการบวม รักษาไข้ปวดหัวตัวร้อน สารพัดไข้ ปวดศีรษะ รักษากาฬ รักษาพิษสำแลง-ของแสลง รักษาฝี บิดตานทรวง ถ่ายท้อง ท้องเดิน ท้องร่วง ลดการขับปัสสาวะ รักษามูกโลหิต โลหิตเน่า ขับน้ำคาวปลา รักษาตานขโมย แมงเตียนกินรากผม เหา รังแค กษัย บำรุงโลหิต เจริญอาหาร ผสมกับยาต้มห้ามโลหิตจากทวารทั้ง 9 หรืออาเจียนเป็นโลหิต ผสมยารักษาเกี่ยวกับโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย บำรุงน่ำนม เป็นฝาโรคหนองใน เบาขัด รักษาอาการลมวิงเวียน โรคปวดในข้อ โรคเหน็บชา คลื่นเหียนจุกเสียดและลมขึ้นสูง โรคประสาทผสมยาทาฝี รักษาแผลเรื้อรังเน่าร้าย ผอมแห้งอยู่ไฟไม่ได้ โรคกุฏฐัง ทำน้ำนมสตรีให้บริสุทธิ์ ขับปัสสาวะในสตรี รักษาอาการปวดบวมท้องขึ้นลงท้องอันเกิดจากวาโยธาตุกำเริบ

ตำรับยา :

แง่งขมิ้น ให้ตัดเอาแง่งขมิ้นขนาดพอควรนำมาล้างให้สะอาดแล้วตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำเจือน้ำสุกเท่าตัวนำมากินครั้งละประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง หรือเติมเกลือเล็กน้อยให้กินง่ายขึ้น ใช้รักษาอาการท้องร่วง บิด ผงขมิ้น ให้ใช้ผงขมิ้น 1 ช้อนโต๊ะ นำมาผสมกับน้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันหมู 2-3 ช้อนโต๊ะ เอามาเคี่ยวด้วยไฟอ่อนแล้วคนให้ทั่วจนเป็นสีเหลือง แล้วใช้น้ำมันที่ได้ใส่แผลหรือจะใช้ฟอกตามบริเวรที่เป็นแผลและยังใช้รักษาอาการเคล็ด หัวขมิ้น ให้นำหัวขมิ้นมาขูดเอาเนื้อขมิ้นทาบริเวณที่ยุงกัดจะทำให้หายคันและตุ่มจะยุบหายไป
การใช้ประโยชน์จากขมิ้น
ตัดแง่งขมิ้นมาพอสมควร นำมาล้างให้สะอาด (ควรทำขั้นตอนนี้ทุกครั้งของการใช้สมุนไพร) แล้วตำให้ละเอียด  คั้นเอาแต่น้ำเจือน้ำสุกเท่าตัวนำมาดื่มครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 - 4 ครั้ง หรือเติมเกลือเล็กน้อย เพื่อใช้รักษาอาการท้องร่วง บิด ใช้ผงขมิ้น 1 ช้อนโต๊ะ นำมันผสมกับน้ำมันมะพร้าว 2 - 3 ช้อนโต๊ะ เอามาเคี่ยวด้วยไฟอ่อน จนได้น้ำมันสีเหลือง แล้วนำมาใช้ใส่แผล หรือนำมาพอกบริเวณ ที่ปวดเมื่อย หรือเคล็ดได้ นำผงขมิ้นมาผสมน้ำผึ้ง หรือน้ำเชื่อม ปั้นเป็นลูกกลอน ขนาดปลายนิ้วก้อย รับประทาน 2 - 3 เม็ด หลังอาหาร และก่อนนอน เพื่อรักษา อาการโรคกระเพาะ ท้องขึ้น
นำขมิ้นแห้ง 25 กรัม + ว่านนางคำ 200 กรัม + ไพล 50 กรัม + ดินสอพอง 1000 กรัม นำมาบดผสมกัน ใช้พอกหน้า และตัวเพื่อบำรุงผิวได้ (ถ้าผิวมันใช้ผสมกับน้ำมะกรูดเผาไฟ ถ้าผิวแห้ง ใช้ผสมกับน้ำผึ้ง หรือ นมสด) ควรพอกประมาณ 5 - 10 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่น ตามด้วยน้ำเย็น สลับกัน
ใช้ผงขมิ้นละลายน้ำทาบ่อย ๆตรงบริเวณที่คัน หรือ คันจากยุงกัดมดกัด
ทำครีมสมุนไพร เพื่อใช้แทนสบู่ และลดรอยเหี่ยวย่นและจุดด่างดำ เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหน้า โดยนำมะขามเปียก 300 กรัมมาแช่น้ำและบีบน้ำแล้วนำมากรองด้วยผ้าขาวบาง แล้วเอาตั้งใส่หม้อเคลือบตั้งไฟอ่อน ๆ เคี่ยวให้แห้งจากนั้น เติมนมสด 200 กรัม + น้ำผึ้ง 50 กรัม + ขมิ้นผง 1/2 ช้อนชา + ว่านนางคำผง 1/2 ช้อนชา คนให้แห้ง ยกลง ก็โดยชะโลมน้ำที่หน้าพอเปียก ป้ายครีมเล็กน้อย ลูบไล้จนทั่วหน้า ทิ้งไว้สักครู่ แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด

วิธีทำยาทาผิว ใช้เหง้าขมิ้นสดมาหั่นบาง ๆ แล้วตากแห้ง นำมาบดเป็นผงให้ละเอียด เวลาจะใช้ให้นำมาผสมกับน้ำคนให้เข้ากัน ทาตามเนื้อตัวหรือใบหน้า หรือผสมกับน้ำนมทาตัวเอาไว้ก่อนจะอาบน้ำทิ้งไว้ 10 - 20 นาที เป็นอย่างน้อย แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด หรือตามด้วยการอาบน้ำชำระร่างกาย ผลที่ได้รับคือ ช่วยให้ผิวนุ่มนวลเนียน แก้โรคผดผื่นคัน หรือจุดด่างดำบนร่างกายให้หายไป
วิธีทำครีมขัดและพอกหน้า นำขมิ้นผงผสมกับน้ำนม หรือน้ำผึ้ง จากนั้นล้างหน้า ให้สะอาดแล้วนำขมิ้นที่เตรียมไว้ขัดใบหน้าเบา ๆ จนทั่วพอกไว้อย่างนั้นประมาณ 5 นาที ล้างออกได้ด้วยน้ำอุ่น ๆ ผลที่ได้รับคือ ช่วยให้สิวเสี้ยนหลุดสมานผิวและรูขุมขน ช่วยรักษาแผลที่เกิดจากสิวอักเสบ ไม่ให้เกิดเป็นแผลเป็น ทำให้ผิวหน้า นุ่มและเนียน

นิทานสอนเด็ก นิทานอีสป นิทานก่อนนอน

สถิติการเข้าชม