Social Icons

ผักฝอยทอง


ฝอยทอง

ชื่ออื่น  เครือขาคำ (เหนือ)  ผักไหม (อุดรฯ)  และฝอยไหม (โคราช)

ชื่อวิทยาศาสตร์  CUSCUTA  CHINENSIS  LAMK. 

ชื่อวงศ์  CUSCUTACEAE 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นพืชล้มลุก  เจริญเติบโตอยู่บนต้นไม้อื่น  ดูดอาหารจากต้นไม้ที่เกาะอาศัยอยู่  ลำต้นกลม  เป็นเถาเลื้อยยาว และอ่อนนุ่ม  เป็นสีเหลืองทอง  แตกกิ่งก้านมาก  ใบมีลักษณะเป็นเกล็ดรูปสามเหลี่ยมเล็ก ๆ  ออกจากลำต้น  โดยออกเรียงสลับ  ใบเป็นสีเหลืองเหมือนสีของลำต้น
    ดอก  มีขนาดเล็กมาก  บางครั้งมองด้วยตาเปล่าแทบไม่เห็น  ออกเป็นช่อสีขาว  มีดอกย่อยจำนวนมาก  ลักษณะดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอดสั้น  ปลายแยกเป็นกลีบดอก  5 กลีบ  ปลายกลีบรูปกลมมน 
 ผล รูปกลม  ขนาดเล็ก  ดอกออกตลอดปี 
สรรพคุณทางสมุนไพร

เป็นยาห้ามเลือด  เลือดกำเดาไหล  ตกเลือด  อุจจาระเป็นเลือด  ช่วยบำรุงไต  ขับลม  ขับเหงื่อ  แก้ปวดเอว  รักษาแผลเรื้อรัง  และผดผื่นคันที่เกิดจากอากาศร้อน
ตำหรับยาแก้นิ่ว 
ทั้งต้น จำนวน  1  กำมือ  หรือประมาณ  30  กรัม  ต้มกับน้ำสะอาด  กะตามต้องการ  จนเดือดแล้วดื่มขณะยังอุ่น ๆ  ครั้ง ละ  1  แก้ว  วันละ  3  เวลา  เช้า  กลางวัน  เย็น  ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้  ต้มดื่มเรื่อย ๆ  ไม่จำกัดเวลาว่าจะนานแค่ไหน  จะช่วยทำให้อาการนิ่งที่เป็นอยู่  ค่อย ๆ  ทุเลาลงและหายได้ในที่สุด

นิทานสอนเด็ก นิทานอีสป นิทานก่อนนอน

สถิติการเข้าชม