ส้มเสี้ยว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia malabarica roxb.
วงศ์ : LEGUMINOSAE-CAESALPINIODIDEAE
ชื่ออื่น : คังโค (สุพรรณบุรี) แดงโค (สระบุรี) ป้าม (ส่วย-สุรินทร์) ส้มเสี้ยว (ภาคเหนือ) เสี้ยวส้ม (นครราชสึมา) เสี้ยวใหญ่ (ปราจีนบุรี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูงถึง 15 เมตร เปลือกต้นสีเทา เปลือกแตกเป็นสะเก็ดยาวตามลำต้น ใบ ทรงกลมเว้า ปลายเป็นพูกลมตื้นๆ ใบแก่เหนียว เรียบ ท้องใบมีนวล สีเขียวออกเทา ดอก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบหรือตามง่ามใบ สีขาวออกเขียวหรือเหลืองอ่อน เป็นช่อเล็กๆ ออกดอกเดือน พฤษภาคม - มิถุนายน ผล เป็นฝักแบนยาว โค้งงอ ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่แห้งสีน้ำตาล เมล็ดแบน ผิวเรียบมัน มี 8-12 เมล็ด ออกผลเดือนกรกฏาคม - กันยายน แหล่งที่พบ ป่าเต็งรัง
ส่วนที่ใช้ : ใบ เปลือกต้น
ส่วนที่ใช้ : ใบ เปลือกต้น
สรรพคุณทางสมุนไพร :
- ใบ - มีรสเปรี้ยวฝาด เป็นยาขับโลหิตระดู และขับปัสสาวะ
- แก้แผลเปื่อยพัง
ใช้ใบส้มเสี้ยวร่วมกับยาระบาย ทำให้ขับเมือกเสมหะตกทางทวารหนักได้ดี
ใช้ร่วมกับยาบำรุงโลหิตระดูที่เป็นลิ่มเป็นก้อนมีกลิ่นเหม็นให้ปกติดีขึ้น
เปลือกต้น - รสเปรี้ยวฝาด แก้ไอ ฟอกโลหิต