Social Icons

มะคังแดง

มะคังแดง
ชื่ออื่น   
จงก่าขาว ตะลุมพุกแดง (กาญจนบุรี) ; จิ้งก่าขาว ชันยอด (ราชบุรี); ตุมกาแดง (กลาง) มะคัง (เชียงใหม่) มะคังป่า (กลาง เหนือ) ; มุยแดง ลุมพุกแดง (นครราชสีมา) โรคแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์   
Gardenia erythroclada Kurz.

ชื่อวงศ์   
Rubiaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
    ไม้ยืนต้น กึ่งไม้พุ่ม ขนาดกลาง สูง 6-12 เมตร ใบดกหนาทึบ ลำต้นและกิ่งก้านสีน้ำตาลแดง มีขนนุ่มๆเหมือนกำมะหยี่สีน้ำตาลแดงปกคลุมทั่วไป โคนต้นและกิ่งมีหนามโดยรอบ หนามขนาดใหญ่ พุ่งตรงออกเป็นระยะ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีหรือรูปไข่กลับ กว้าง 8-15 เซนติเมตร ยาว 15-22 เซนติเมตร ผิวใบมีขนทั้งสองด้าน มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ โคนใบมน หลังใบเรียบ ท้องใบมีขนสีขาวปกคลุม ขอบใบเรียบ ก้านใบมีขนสีขาว มีหูใบเป็นรูปสามเหลี่ยมหลุดร่วงง่าย ดอกช่อขนาดเล็กออกเป็นช่อสั้น ที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกย่อยสีเขียวอ่อน กลีบดอกมี 5 กลีบ  โคนกลีบดอกติดกัน กลีบดอกรูปกลม เกสรตัวผู้เป็นเส้นติดกับกลีบดอกวางสับหว่างกลีบดอก ผลสด รูปกระสวย มีสันนูนจำนวน 5-6 สัน ผิวเรียบ ปลายผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ เกิดตามป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

สรรพคุณทางสมุนไพร
ยาพื้นบ้าน  ใช้  ต้น ต้มน้ำดื่ม แก้เลือดลมเดินไม่สะดวก ผสมกับหัวยาข้าวเย็น ต้มน้ำดื่มแก้ไตพิการ (โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ มีปัสสาวะขุ่นข้น เหลืองหรือแดง มักมีอาการแน่นท้อง กินอาหารไม่ได้) แก้ปวดท้อง ขับพิษโลหิต และน้ำเหลืองเปลือกต้น ตำพอกแผลสด ห้ามเลือด ราก เป็นยาถ่าย ไม่ระบุส่วนที่ใช้ ใช้แก้ไข้

นิทานสอนเด็ก นิทานอีสป นิทานก่อนนอน

สถิติการเข้าชม