Social Icons

มะพร้าวนกคุ่ม หรือ ว่านสากเหล็ก

ชื่อวิทยาศาสตร์    Molineria latifolia (Dryand. ex W.T.Aiton) Herb. ex Kurz
ชื่อวงศ์               HYPOXIDACEAE
ชื่ออื่น                 ว่านพร้าว จ๊าลาน (เชียงราย), พญารากเดี่ยว (นราธิวาส), กูดพร้าว (ภาคเหนือ), ละโมยอ (มะลายู-นรา) เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์


ต้นว่านสากเหล็ก มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางจังหวัดสระบุรี จัดเป็นพรรณไม้เตี้ยหรือไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี ลักษณะคล้ายกับพืชจำพวกปาล์ม มีความสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร ลำต้นเหนือดินมีลักษณะกลมชุ่มน้ำ มีหัวคล้ายรากแทงลึกลงไปในดินประมาณ 10-30 เซนติเมตร ตรงหัวจะมีรากเล็ก ๆ ลึกลงไปในดินอีกรากหนึ่ง ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับสากตำข้าว หรือเป็นรูปไข่กลมรี ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ และใช้เมล็ด พบแพร่กระตายในพม่า และทางตอนใต้ของไทย รวมถึงหมู่เกาะมาเลเซียและบอร์เนียว
ใบว่านสากเหล็ก ใบออกเรียงสลับติดกันที่โคนต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรีหรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก แผ่นใบพับเป็นร่อง ๆ ตามยาวคล้ายกับใบปาล์ม ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3.5-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-70 เซนติเมตร มีก้านใบยาวประมาณ 25-30 เซนติเมตร โคนแผ่กว้างหุ้มกับลำต้น
ดอกว่านสากเหล็ก ดอกออกเป็นช่อแทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน ดอกมีกลีบ 6 กลีบ สีเหลือง โคนดอกเชื่อมติดกัน ดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร ดอกออกรวมกันแน่น ลักษณะเป็นช่อรูปทรงกระบอกปลายแหลม มีขนาดกว้างประมาณ 4-5 เซนติเมตร และยาวได้ประมาณ 5-7 เซนติเมตร
ผลว่านสากเหล็ก ผลมีลักษณะกลมมีสีเหลืองอมเขียวอ่อน ส่วนผลแก่เป็นสีขาวถึงแดง มีขนาดยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร ส่วนที่ด้านขั้วป่องออก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร และค่อย ๆ เรียวไปทางปลายผล[3] ผลมีรสหวานถ้ากินน้ำหลังจากกินผลไม้นี้แล้ว จะทำให้สึกว่าน้ำมีรสหวานชุ่มคอดี
สรรพคุณทางสมุนไพร
  1. ใบและรากมีรสเผ็ดขม เป็นยาเย็นมีพิษเล็กน้อย ใช้เป็นยาดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ (ใบและราก)
  2. ช่วยกระจายโลหิต ฟอกโลหิต และทำให้โลหิตไหลเวียนได้สะดวก (ใบและราก)
  3. ช่วยบำรุงกำลัง (ราก)
  4. ช่วยแก้อาการไอ เจ็บคอ ด้วยการใช้ยาแห้งประมาณ 3-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ใบและราก)
  5. หัวและรากของว่านสากเหล็ก นำมาหั่นบาง ๆ แล้วตากให้แห้ง ใช้ดองกับเหล้ากินเป็นยาชักมดลูก สำหรับผู้หญิงที่เพิ่งคลอดบุตรใหม่ ๆ จะช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น และยังช่วยรักษามดลูกอักเสบเนื่องจากความเคลื่อนไหวของมดลูกจากที่เดิมให้เป็นปกติ (หัวและราก)
  6. หัวใช้ดองกับเหล้ารับประทานแก้มดลูกพิการ หรือเนื้องอกในมดลูกทำให้ฝ่อ ช่วยแก้กระบังลมพลัด (เรียกว่า "ดากโยนี" เวลานั่งโผล่ เวลานอนหดขึ้น) ทำให้ยุบเล็กและแห้งเหี่ยวไป (หัว)
  7. ช่วยแก้พิษงู แมลงกัดต่อย (ใบและราก)
  8. ช่วยรักษาฝีภายนอก (ใบและราก)
  9. ช่วยแก้อาหารฟกช้ำ โดยใช้รากแห้ง นำมาบดให้เป็นผง ใช้ครั้งละ 10 กรัม นำมาชงกับน้ำหรือเหล้ารับประทาน (ราก)
  10. ช่วยแก้อาการปวดข้อ เคล็ดขัดยอก แก้บวม (ใบและราก)
  11. ว่านสากเหล็กจัดอยู่ในตำรับยา "พิกัดเหล็กทั้งห้า" ซึ่งประกอบไปด้วยว่านสากเหล็ก แก่นขี้เหล็ก แก่นพญามือเหล็ก เถาวัลย์เหล็ก และสนิมเหล็ก มีสรรรพคุณเป็นยาแก้พิษโลหิตทั้งบุรุษและสตรี เป็นยาบำรุงกำลัง และแก้กษัย[6]
หมายเหตุ : การใช้ตาม [2] ให้ใช้ยาแห้งครั้งละ 3-10 กรัม ถ้าเป็นยาสดให้ใช้ครั้งละ 15-35 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือจะใช้เข้ากับตำรายาอื่นด้วยก็ได้ แต่ถ้านำมาใช้ภายนอกให้ใช้ต้นสดตำพอกบริเวณที่ต้องการ ว่านสากเหล็กและพลับพลึง ต่างก็มีสรรพคุณที่คล้ายคลึงกัน สามารถนำมาใช้แทนกันได้ แต่ในตำรายาไทยส่วนใหญ่แล้วจะใช้ว่านสากเหล็กเป็นยารักษาโรคเกี่ยวกับมดลูกเป็นส่วนใหญ่ และก่อนจะนำมาใช้เป็นยาจะต้องนำไปกำจัดพิษออกก่อน และเวลาใช้ไม่ควรใช้ในปริมาณที่เกินกว่ากำหนด
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของว่านสากเหล็ก
  • สารที่พบได้แก่ สาร Alkaloids หลายชนิด เช่น Lycorine, Narcissine, Crinamrine, Tazettine, Amino acid เป็นต้น
  • สาร Tazettine ที่สกัดได้จากว่านสากเหล็กในปริมาณ 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม มีฤทธิ์ในการกระตุ้นหัวใจที่อยู่นอกตัวของกล ทำให้มีการบีบตัวแรงขึ้น
  • ว่านสากเหล็กมีฤทธิ์ทางเภสัชที่สำคัญคือฤทธิ์การต้านการอักเสบ รักษาแผลพุพอง หนอง ลดอาการเจ็บปวด อาการบวม
สารสกัดหยาบด้วยน้ำอุณหภูมิห้องจากส่วนของรากและเหง้าจะให้ผลผลิตสูงสุด รองลงมาคือเอทานอลและสารสกัดหยาบจากส่วนใบและลำต้น จากการศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ พบว่าสารสกัดหยาบทั้งส่วนเหนือดิน (รากและเหง้า) และส่วนใต้ดิน (ใบและลำต้น) มีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระสูง โดยสารสกัดหยาบด้วยน้ำร้อนจากส่วนของใบและลำต้นจะมีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด

**************************************************************************

ข้อมูลจาก https://medthai.com/

นิทานสอนเด็ก นิทานอีสป นิทานก่อนนอน

สถิติการเข้าชม