Social Icons

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ผักฝอยทอง แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ผักฝอยทอง แสดงบทความทั้งหมด

ผักฝอยทอง


ฝอยทอง

ชื่ออื่น  เครือขาคำ (เหนือ)  ผักไหม (อุดรฯ)  และฝอยไหม (โคราช)

ชื่อวิทยาศาสตร์  CUSCUTA  CHINENSIS  LAMK. 

ชื่อวงศ์  CUSCUTACEAE 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นพืชล้มลุก  เจริญเติบโตอยู่บนต้นไม้อื่น  ดูดอาหารจากต้นไม้ที่เกาะอาศัยอยู่  ลำต้นกลม  เป็นเถาเลื้อยยาว และอ่อนนุ่ม  เป็นสีเหลืองทอง  แตกกิ่งก้านมาก  ใบมีลักษณะเป็นเกล็ดรูปสามเหลี่ยมเล็ก ๆ  ออกจากลำต้น  โดยออกเรียงสลับ  ใบเป็นสีเหลืองเหมือนสีของลำต้น
    ดอก  มีขนาดเล็กมาก  บางครั้งมองด้วยตาเปล่าแทบไม่เห็น  ออกเป็นช่อสีขาว  มีดอกย่อยจำนวนมาก  ลักษณะดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอดสั้น  ปลายแยกเป็นกลีบดอก  5 กลีบ  ปลายกลีบรูปกลมมน 
 ผล รูปกลม  ขนาดเล็ก  ดอกออกตลอดปี 
สรรพคุณทางสมุนไพร

เป็นยาห้ามเลือด  เลือดกำเดาไหล  ตกเลือด  อุจจาระเป็นเลือด  ช่วยบำรุงไต  ขับลม  ขับเหงื่อ  แก้ปวดเอว  รักษาแผลเรื้อรัง  และผดผื่นคันที่เกิดจากอากาศร้อน
ตำหรับยาแก้นิ่ว 
ทั้งต้น จำนวน  1  กำมือ  หรือประมาณ  30  กรัม  ต้มกับน้ำสะอาด  กะตามต้องการ  จนเดือดแล้วดื่มขณะยังอุ่น ๆ  ครั้ง ละ  1  แก้ว  วันละ  3  เวลา  เช้า  กลางวัน  เย็น  ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้  ต้มดื่มเรื่อย ๆ  ไม่จำกัดเวลาว่าจะนานแค่ไหน  จะช่วยทำให้อาการนิ่งที่เป็นอยู่  ค่อย ๆ  ทุเลาลงและหายได้ในที่สุด

นิทานสอนเด็ก นิทานอีสป นิทานก่อนนอน

สถิติการเข้าชม