ตะไคร้หอม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon nardus Rendle
ชื่อสามัญ : Citronella grass
วงศ์ : GRAMINEAE
ชื่ออื่น : จะไคมะขูด ตะไครมะขูด (ภาคเหนือ) ตะไคร้แดง (นครศรีธรรมราช)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 0.75-1.2 เมตร แตกเป็นกอ เหง้าใต้ดินมีกลิ่นเฉพาะ ข้อและปล้องสั้นมาก กาบใบของตะไคร้หอมมีสีเขียวปนม่วงแดง ยาวและหนาหุ้มข้อและปล้องไว้แน่น ใบ เดี่ยวเรียงสลับ กว้าง 1-2 ซม. ยาว 70-100 ซม. แผ่นใบและขอบใบสากและคม (ตะไคร้หอมใบยาวและนิ่มกว่าตะไคร้ธรรมดาเล็กน้อย ทำให้ปลายห้อยลงปรกดินกว่า) ดอก ช่อ สีน้ำตาลแดง แทงออกจากกลางต้น ออกดอกยาก ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก
ส่วนที่ใช้ : ต้น ใบสด น้ำมันของต้นตะไคร้หอม
ส่วนที่ใช้ : ต้น ใบสด น้ำมันของต้นตะไคร้หอม
สรรพคุณ :
- น้ำมันสะกัดตะไคร้หอม
- ปรุงกับน้ำหอมทาตัวป้องกันยุงกัด
- ใส่กระบอกสูบผสมกับน้ำมันอื่นฉีดไล่ยุงได้ดีมาก - ทั้งต้น
-ใช้ตะไคร้หอม 4-5 ต้น นำมาทั้งต้น ทุบๆ วางทิ้งไว้ในห้องมืดๆ กลิ่นน้ำมันหอมระเหยออกมา ยุง แมลงจะหนีหมด
ประโยชน์ทางยา
- แก้ริดสีดวงในปาก (คือปากแตกระแหงเป็นแผลในปาก)
- ปรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ และแก้แน่นได้ด้วย
- สตรีมีครรภ์รับประทานให้ตกลูกหรือทำลายโลหิตให้ด้วย (ทำให้แท้ง) คือมีอำนาจในทางบีบรัดมดลูกได้ดีด้วย
วิธีใช้ : นำน้ำมันหอมระเหยตะไคร้หอมทาตามตัว ไล่แมลง ยุง
- ใช้เหง้าฝานเป็นแว่นบางๆ คั่วไฟอ่อนๆ พอเหลือง ใช้ครั้งละ 1 หยิบมือชงกับน้ำ 1 ถ้วยชา รินเฉพาะ ส่วนใสดื่มจนหมดถ้วยวันละ 3 ครั้ง
- ใช้ต้นสด วันละ 1 กำมือ (หนัก 40-60 กรัม) ต้มกับน้ำแบ่งดื่มวันละ 3 ครั้ง ๆ ละ ถ้วยชาก่อนอาหาร
ต้น เป็นยาแก้ปากแตกระแหง แก้ริดสีดวงในปาก ขับลมในลำไส้ แก้แน่น ขับโลหิต ขับระดู หรือ ถ้าผู้ที่ท้องทานเข้าไปจะทำให้แท้งได้ แก้แผลในปาก แก้ตานซางในลิ้นและปาก บำรุงไฟธาตุ แก้อาเจียน
- ใช้ต้นสด วันละ 1 กำมือ (หนัก 40-60 กรัม) ต้มกับน้ำแบ่งดื่มวันละ 3 ครั้ง ๆ ละ ถ้วยชาก่อนอาหาร
ต้น เป็นยาแก้ปากแตกระแหง แก้ริดสีดวงในปาก ขับลมในลำไส้ แก้แน่น ขับโลหิต ขับระดู หรือ ถ้าผู้ที่ท้องทานเข้าไปจะทำให้แท้งได้ แก้แผลในปาก แก้ตานซางในลิ้นและปาก บำรุงไฟธาตุ แก้อาเจียน
วิธีใช้ตะไคร้หอมกำจัดแมลง :
วิธีที่ 1 : น้ำมันของต้นตะไคร้หอม ใช้ผสมกับน้ำมันอื่นๆ ฉีดพ่นไล่แมลงศัตรูพืช
วิธีที่ 2 : ใช้ใบสดที่แก่จัดผสมกับหัวข่าสด และใบสะเดาสด จากนั้นนำไปบดให้ละเอียด ใช้ในอัตรา 4:4:4 กก. แช่ในน้ำ 2 ปี๊บ หมักทิ้งไว้ 1 คืน กรองเอาเฉพาะน้ำมาเป็นหัวเชื้อ เมื่อจะนำมาใช้ ให้ใช้หัวเชื้อที่หมักได้ ในอัตรา 10 ช้อนแกง ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นกำจัดแมลงในพืชผัก ข้าว และ ไม้ผลบางชนิด เช่น ส้มเขียวหวาน ได้ผลดี
วิธีที่ 3 : นำใบแห้ง มาใช้รองพื้นยุ้งฉาง จะช่วยลดการเข้าทำลายของมอดข้าวเปลือก หรือรองไว้ในรังไก่ จะช่วยทำให้ไม่มีไรไก่มารบกวน
วิธีที่ 4 : โดยปลูกตะไคร้หอมใต้ต้นไม้ผล หรือในแปลงผักเป็นระยะ ๆ เมื่อถึงช่วงมืดค่ำก็ใช้ ไม้ฟาดที่ต้นตะไคร้หอม เพื่อให้กลิ่นน้ำมันหอมระเหยออกมา กลิ่นจะฟุ้งกระจายไป ในอากาศ ช่วยขับไล่ผีเสื้อกลางคืน ไม่ให้มาวางไข่
วิธีที่ 5 : สูตรกำจัดหนอน นำเหง้าและใบตะไคร้หอมมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วบดให้ละเอียดประมาณ 5 ขีด นำไปผสมกับน้ำ 10 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นใช้ผ้าขาวบางกรองเอาแต่น้ำไปใช้ฉีดพ่นกำจัดหนอนที่รบกวนในแปลงพืช ก่อนนำไปใช้ให้ผสกับสารจับใบ เช่น สบู่ แชมพู เป็นต้น
วิธีที่ 1 : น้ำมันของต้นตะไคร้หอม ใช้ผสมกับน้ำมันอื่นๆ ฉีดพ่นไล่แมลงศัตรูพืช
วิธีที่ 2 : ใช้ใบสดที่แก่จัดผสมกับหัวข่าสด และใบสะเดาสด จากนั้นนำไปบดให้ละเอียด ใช้ในอัตรา 4:4:4 กก. แช่ในน้ำ 2 ปี๊บ หมักทิ้งไว้ 1 คืน กรองเอาเฉพาะน้ำมาเป็นหัวเชื้อ เมื่อจะนำมาใช้ ให้ใช้หัวเชื้อที่หมักได้ ในอัตรา 10 ช้อนแกง ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นกำจัดแมลงในพืชผัก ข้าว และ ไม้ผลบางชนิด เช่น ส้มเขียวหวาน ได้ผลดี
วิธีที่ 3 : นำใบแห้ง มาใช้รองพื้นยุ้งฉาง จะช่วยลดการเข้าทำลายของมอดข้าวเปลือก หรือรองไว้ในรังไก่ จะช่วยทำให้ไม่มีไรไก่มารบกวน
วิธีที่ 4 : โดยปลูกตะไคร้หอมใต้ต้นไม้ผล หรือในแปลงผักเป็นระยะ ๆ เมื่อถึงช่วงมืดค่ำก็ใช้ ไม้ฟาดที่ต้นตะไคร้หอม เพื่อให้กลิ่นน้ำมันหอมระเหยออกมา กลิ่นจะฟุ้งกระจายไป ในอากาศ ช่วยขับไล่ผีเสื้อกลางคืน ไม่ให้มาวางไข่
วิธีที่ 5 : สูตรกำจัดหนอน นำเหง้าและใบตะไคร้หอมมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วบดให้ละเอียดประมาณ 5 ขีด นำไปผสมกับน้ำ 10 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นใช้ผ้าขาวบางกรองเอาแต่น้ำไปใช้ฉีดพ่นกำจัดหนอนที่รบกวนในแปลงพืช ก่อนนำไปใช้ให้ผสกับสารจับใบ เช่น สบู่ แชมพู เป็นต้น
สารเคมี น้ำมันหอมระเหย มี 0.4-0.9% ประกอบด้วย geraniol 57.6-61.1% Citronellal 7.7-14.2% eugenol, camphor, methyl eugenol