มะขามแขก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna alexandrina P. Miller
ชื่อสามัญ : Alexandria senna, Alexandrian senna Indian senna
วงศ์ : Fabaceae (Leguminosae-Caesalpinioideae)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่ม สูง 0.5 – 1.5 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 2.5-3.5 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบตอนปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง ผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนาน
ส่วนที่ใช้ : ใบแห้ง และฝักแห้ง ช่วงอายุ 1 เดือนครึ่ง (หรือก่อนออกดอก)
สรรพคุณ
ใบและฝัก
- ใช้เป็นยาถ่ายที่ดี
วิธีและปริมาณที่ใช้
ใบมะขามแขกหนัก 2 กรัม หรือ 2 หยิบมือ หรือใช้ฝัก 10-15 ฝัก ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว 5 นาที ใส่เกลือเล็กน้อยเพื่อกลบรสเฝื่อน รับประทานครั้งเดียว หรือ ใช้วิธีบดใบแห้ง เป็นผงชงน้ำดื่ม บางคนดื่มแล้วเกิดอาการไซ้ท้อง แก้ไขโดย ต้มรวมกับยาขับลมจำนวนเล็กน้อย (เช่น กระวาน กานพลู อบเชย) เพื่อแต่งรสและบรรเทาอาการไซ้ท้อง
มะขามแขก เหมาะกับคนสูงอายุ ที่ท้องผูกเป็นประจำแต่ควรใช้เป็นครั้งคราว
ข้อห้าม : ผู้หญิงมีครรภ์ หรือ มีประจำเดือน ห้ามรับประทานสารที่พบ
: ใบและฝักพบสารประกอบพวก anthraquinones เช่น sennoside A.B.C.D. aloe emodin , emodin , rhein , physcion , และสาร anthrones dianthrones
ข้อมูลเพิ่มเติมมะขามแขก เป็นยาถ่าย ที่มีประวัตินานเกือบ 100 ปี สารแอนทราควิโนน ในใบและฝักมะขามแขก จะมีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ ทำให้ถ่ายท้องได้ และการค้นคว้าศึกษา พบว่า การใช้มะขามแขกนาน ๆ จะทำให้เกิดการขาดสารโพแตสเซียมได้ ถ้าจำเป็นต้องใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรรับประทานโพแตสเซียมเสริมด้วย กองวิจัยและพัฒนาสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงานว่า มะขามแขกไม่มีพิษเฉียบพลัน