ว่านมหากาฬ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gynura pseudochina (L.) DC.
วงศ์ : Asteraceae (Compositae)
ชื่ออื่น : ดาวเรือง ผักกาดกบ หนาดแห้ง ผักกาดดง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุก มีรากขนาดใหญ่ ลำต้นอวบน้ำ ทอดเลื้อยยาว ชูยอดตั้งขึ้น ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับรอบต้น ใบรูปวงรียาวถึงรูปไข่แกมรูปใบหอก กว้าง 2.5-8 เซนติเมตร
ยาว 6-30 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบหยักหรือเว้าเป็นพูตื้นๆ แผ่นใบหนา ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มปนสีน้ำตาลอมม่วง เส้นใบเป็นสีเขียวอ่อนตัดกับสีพื้นใบ มีขนสั้นปกคลุมทั่วใบ ผิวใบด้านล่างสีเขียวแกมเทา ดอก ช่อ ออกที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว ดอก สีเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงหลั่นจากต้น
ยาว 6-30 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบหยักหรือเว้าเป็นพูตื้นๆ แผ่นใบหนา ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มปนสีน้ำตาลอมม่วง เส้นใบเป็นสีเขียวอ่อนตัดกับสีพื้นใบ มีขนสั้นปกคลุมทั่วใบ ผิวใบด้านล่างสีเขียวแกมเทา ดอก ช่อ ออกที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว ดอก สีเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงหลั่นจากต้น
ส่วนที่ใช้ : หัว ใบสด
สรรพคุณ :
สรรพคุณ :
- หัว
- รับประทานแก้พิษอักเสบ ดับพิษกาฬ พิษร้อน
- แก้ไข้พิษเซื่องซึม แก้เริม - ใบสด
- ขับระดู
- ตำพอกฝี หรือหัวละมะลอก งูสวัด เริม ทำให้เย็น ถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน
ใช้ใบสด 5-6 ใบ ล้างน้ำให้สะอาด ตำในภาชนะทีสะอาด ใส่พิมเสนเล็กน้อย
ใช้ใบสด 5-6 ใบ โขลกผสมกับสุรา ใช้น้ำทา และพอกบริเวณที่เป็นด้วยก็ได้
ข้อสังเกต - ในการใช้ว่านมหากาฬรักษาเริม และงูสวัด เมื่อหายแล้ว มีการกลับเป็นใหม่น้อยกว่าเมื่อใช้เหล้าขาว