ชื่อวิทยาศาสตร์ : Derris scandens Benth.
วงศ์ : PAPILIONEAE
ชื่ออื่น : เครือตาปลา, เครือตับปลา (อีสาน), เครือเขาหนัง, เถาวัลย์เปรียงแดง, เถาวัลย์เปรียงขาว, ย่านเหมาะ (นครศรีธรรมราช)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นไม้เถาขนาดใหญ่ พาดพันตามต้นไม้อื่น เถาใหญ่มักจะบิด ใบประกอบ ใบย่อยรูปไข่กลับ ผิวเรียบมันเขียวขอบเรียบ ปลายแหลมน้อยๆ ดอกเป็นช่อพวงระย้าสีขาวดก ฝักแบนยาว ออกเป็นพวง เนื้อไม้มีวงสีเข้ม มีสองชนิด คือ ชนิดแดง เนื้อสีแดง วงสีแดงเข้ม ชนิดขาว เนื้อออกสีน้ำตาลอ่อนๆ วงสีน้ำตาลไหม้
สรรพคุณ
เถา : นำมากินจะมีรสเฝื่อนเอียนเล็กน้อย ใช้เป็นยาถ่ายเสมหะ ลงสู่ทวารหนัก ถ่ายเส้นและกษัย ถ่ายเส้นทำให้เส้นอ่อนและหย่อนดี รักษาเส้นเอ็นขอด รักษาปัสสาวะพิการ ขับปัสสาวะ และรักษาโรคบิด โรคไอ โรคหวัด ใช้สำหรับเด็กเป็นยาที่ดีมาก
ราก : จะมีสารพวก flavonol ที่มีชื่อว่า scadenin, nallanin ใช้เป็นยาเบื่อปลา แต่ไม่มีคุณสมบัติในการใช้เป็นยาฆ่าแมลง ในตำรับยาไทยนั้นเขาใช้เป็นยารักษาอาการไข้ เป็นยาอายุวัฒนะ และขับปัสสาวะ
ราก : จะมีสารพวก flavonol ที่มีชื่อว่า scadenin, nallanin ใช้เป็นยาเบื่อปลา แต่ไม่มีคุณสมบัติในการใช้เป็นยาฆ่าแมลง ในตำรับยาไทยนั้นเขาใช้เป็นยารักษาอาการไข้ เป็นยาอายุวัฒนะ และขับปัสสาวะ
อื่น ๆ : พรรณไม้นี้บางจังหวัดใช้เถานำมาหั่นตาก แล้วคั่วไฟชงน้ำกิน แทนน้ำชา ทำให้เส้น หย่อนรักษาอาการเมื่อยขบ ส่วนใหญ่แล้ว มักนิยมใช้เถาวัลย์เปรียงแดง เพราะมีเนื้อไม้ เป็นสีแดงเรื่อ ๆ