Social Icons

ผักเฮือดขาว,เลียบ

ผักเฮือดขาว
Ficus Virens Ait
MORACEAE

ชื่ออื่น ผักเฮือดยอดขาว (ภาคเหนือ) เลียบ นิโครธขาว
(ภาคกลาง) ผักเลือด ไทรเลียบ เลียบ(ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไป ไม้ยืนต้นผลัดใบ ลำต้น สูง 9-14 เมตร จะทิ้งใบในช่วง
ฤดูหนาว หรือฤดูร้อน หลังจากนั้นจะแตกยอดอ่อน ลำต้นมีรากอากาศ
ใบอ่อนมีสีเขียวอ่อนและกาบใบสีขาว ใบเมื่อแก่มีสีเขียว ใบ เป็นใบเดี่ยวกว้าง
6-8 เซนติเมตร ยาว 10-15 เซนติเมตร ผล ออกตามกิ่งหรือลำต้นคล้ายลูก
มะเดื่อ แต่ผลเล็กกว่า ดอก สีชมพู การขยายพันธุ์ โดยการปักชำกิ่ง ตัดกิ่ง
ให้เป็นท่อนนำไปปลูกลงดิน หรือชำให้เกิดรากก่อนแล้ว จึงย้ายปลูก
นิเวศวิทยาและการแพร่กระจาย พบตามหมู่บ้านในชนบท ชาวบ้าน
ปลูกใช้เพื่อรับประทานเป็นผัก
ประโยชน์และความสำคัญ ทางอาหาร ยอดอ่อน กินสดกับพริกหรือ
ลวกก่อนหรือนำไปแกงกับกระดูกหมู หรือยำ วิธีการปรุง ลวกหรือนึ่งยอดผัก
เฮือดขาวให้สุกแล้วนำมาหั่นตามขวางประมาณ 1 เซนติเมตร เครื่องปรุง
น้ำพริก พริก เกลือ หอม กระเทียม กะปิ โขลกเครื่องปรุงน้ำพริกให้เข้ากัน
นำไปผัดกับน้ำมันให้หอม เติมน้ำเล็กน้อยใส่แคบหมู นำยอดผักเฮือดที่เตรียม
ไว้แล้วลงคลุกผัดให้เข้ากัน ปรุงรสตามใจชอบ รับประทานร่วมกับแคบหมู่
หรือแคบควาย ทางสมุนไพร เปลือกต้น ผักเฮือดต้มดื่มแก้ปวดท้อง
ท้องร่วงทางอื่น ผักเฮือดมียางเหนียว ชาวบ้านใช้ยาง ผักเอือดดักนก
หรือแมลง

นิทานสอนเด็ก นิทานอีสป นิทานก่อนนอน

สถิติการเข้าชม