ข้าวเม่าไข่ปลา
ชื่อวิทยาศาสตร์: Antidesma ghaesembilla Gaertn
วงศ์: STILAGINACEAE
ชื่ออื่น: กูแจ (มลายู นราธิวาส);ขะเม่าผา;มะเม่า (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ);มะเม่าข้าวเบา (ชุมพร);มังเม่า (กาญจนบุรี);เม่าทุ่ง (ชุมพร)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น: เม่าไข่ปลาเป็นไม้พุ่มต้นขนาดกลาง สูง 6 8 เมตร เปลือกต้นสีเทาดำ กิ่งอ่อน ยอดอ่อนมีขน ใบ: ใบขนาด 4-10 x 2-5 เซนติเมตร รูปไข่ ปลายป้านหรือมีติ่งที่ปลายทั้งสองด้าน ใบอ่อนสีชมพูมีขน ใบแก่สีเขียว ไม่มีขนหรือมีขนห่างๆ ด้านล่างและบนเส้นใบด้านบน เส้นใบข้างโค้ง 6-7 คู่ ก้านใบ 0.2-1.2 เซนติเมตร มีขนสีแดงขณะยังอ่อน ดอก: ดอกสีเขียวออกเหลือง คล้ายดอกพริกไทย ออกเป็นช่อสีเทา เกสรมีขาว มีกลิ่นเล็กน้อย เรียงห่างๆบนก้านชูที่ตั้งตรง มี 2-8 ช่อ ช่อยาว 3-10 เซนติเมตร ดอกย่อยไม่มีก้าน ชั้นกลีบเลี้ยงมี 4-5 พู หมอนรองดอกมีต่อม 4-5 เกสรตัวผู้ 4-5 อัน รังไข่เป็นหมัน ดอกตัวเมีย 2-3 มิลลิเมตร ก้านดอก 0.5 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยง 0.9 มิลลิเมตร ปลายเกสรตัวเมีย 3-4 แฉก หมอนรองดอกรูปถ้วยมีขนยาว ผลคล้ายพริกไทย แต่ขนาดเล็ก ผลอ่อน สีเทา แต่พอสุกสีเทาดำ ผลขนาด 0.3-0.5 เซนติเมตร กลมหรือแบนเล็กน้อย มีขนปกคลุม ด้านบนมีติ่งเล็กๆ
รสชาติ ยอดมีรสฝาดอมเปรี้ยวและมันใช้รับประทานเป็นผักเหนาะ ส่วนผลสุก หวานอมเปรี้ยว
ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์
เมล็ด หรือต้นอ่อน
สรรพคุณทางสมุนไพร
ต้น ราก ขับปัสสาวะ แก้กระษัย บำรุงไต แก้มดลูกพิการ แก้ตกขาว แก้เส้นเอ็นพิการ แก้ป่วยเมื่อยตามร่างกาย แก้มลูกซ้ำบวม แก้มดลูกซ้ำบวม ขับโลหิตและน้ำคาวปลา ผลสุกกินแก้คอแห้ง แก้กระหายน้ำใบและผล ต้มน้ำอาบ แก้อาการโลหิตจาง ซีด เลือดไหลเวียนไม่ดี