หญ้ารังกาขาว
ชื่ออื่น ฮังกาขาว (เลย), กกหัวแดง, หญ้าหัวแดง (สิงห์บุรี), หญ้ากกทราย (นครสวรรค์), หญ้ากกเล็ก (อ่างทอง) ,กกรังกาขาว
ชื่ออื่น ฮังกาขาว (เลย), กกหัวแดง, หญ้าหัวแดง (สิงห์บุรี), หญ้ากกทราย (นครสวรรค์), หญ้ากกเล็ก (อ่างทอง) ,กกรังกาขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cyperus iria Linn.
ชื่อวงศ์ CYPERACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พืชล้มลุกตระกูลกกอายุปีเดียว ขึ้นเป็นกอสูง 10 – 50 ซม. ลำต้น เป็น 3 เหลี่ยม ผิวเกลี้ยง ใบ รูปขอบขนานแคบ ยาว 5 – 15 ซม. กาบใบยาว 2 – 10 มม. สีแดงหรือสีน้ำตาล กาบประดับ 3 – 5 อัน ยาวประมาณ 20 ซม. ดอก ออกเป็นช่อประกอบคล้ายก้านร่มลักษณะโปร่ง ช่อดอกย่อยรูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 9 – 13 ซม. ห้อยลง กาบช่อย่อยรูปไข่กลับหรือกลม ยาว 0.7- 1.3 มม. สีเหลืองหรือสีน้ำตาล ปลายแผ่เว้าเล็กน้อย เกสรเพศผู้ จำนวน 2 – 3 อัน ผล รูปรีหรือรูปไข่กลับสีน้ำตาลเข้มทรงสามเหลี่ยม ยาว 1 – 1.5 มม. กว้าง 0.5 – 0.8 มม. ผิวเป็นคลื่น เกิดตามที่ชื้นริมน้ำลำคลอง ริมถนนทั่วไป
สรรพคุณทางสมุนไพร
ทั้งต้น รสเผ็ดหอมร้อน ต้มดื่มบำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย สมานแผล
หัว รสเผ็ดหอม ลดไข้ ขับลม บำรุงธาตุ
พืชล้มลุกตระกูลกกอายุปีเดียว ขึ้นเป็นกอสูง 10 – 50 ซม. ลำต้น เป็น 3 เหลี่ยม ผิวเกลี้ยง ใบ รูปขอบขนานแคบ ยาว 5 – 15 ซม. กาบใบยาว 2 – 10 มม. สีแดงหรือสีน้ำตาล กาบประดับ 3 – 5 อัน ยาวประมาณ 20 ซม. ดอก ออกเป็นช่อประกอบคล้ายก้านร่มลักษณะโปร่ง ช่อดอกย่อยรูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 9 – 13 ซม. ห้อยลง กาบช่อย่อยรูปไข่กลับหรือกลม ยาว 0.7- 1.3 มม. สีเหลืองหรือสีน้ำตาล ปลายแผ่เว้าเล็กน้อย เกสรเพศผู้ จำนวน 2 – 3 อัน ผล รูปรีหรือรูปไข่กลับสีน้ำตาลเข้มทรงสามเหลี่ยม ยาว 1 – 1.5 มม. กว้าง 0.5 – 0.8 มม. ผิวเป็นคลื่น เกิดตามที่ชื้นริมน้ำลำคลอง ริมถนนทั่วไป
สรรพคุณทางสมุนไพร
ทั้งต้น รสเผ็ดหอมร้อน ต้มดื่มบำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย สมานแผล
หัว รสเผ็ดหอม ลดไข้ ขับลม บำรุงธาตุ