ผักแพวแดง
ชื่ออื่น ผักแผ่วแดง ผักแผ่วสวน อีแปะ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Iresine herbstii Hook.
ชื่อสามัญ
ชื่อวงศ์ AMARANTHACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 50 ซ.ม. ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปโล่แกมรูปไข่ รูปวงรีหรือรูปไข่กลับ ปลายเว้าสีแดง มีแถบขวางสีชมพู ดอกช่อออกเป็นที่ปลายกิ่ง สีขาวแกมเหลือง ผลเป็นผลแห้งไม่แตก
สรรพคุณทางสมุนไพร
แก้เลือดลมต่าง ๆ แก้ธาตุพิการ บำรุงประสาทรักษา หอบ หืด ไอ ปวดเมื่อยตามข้อ ปวดกระดูก แก้ปวดท้อง ริมสีดวง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ดอก ขับเหงื่อ รักษาโรคปอด กินเป็นผักสด หรือ ผัด ต้มจืด
ส่วนที่ใช้ประโยชน์ของผักแพวแดงคือ ใบ ดอก และราก ซึ่งแต่ละส่วนจะให้สรรพคุณแตกต่างกันดังต่อไปนี้
- ใบของผักแพวแดง ใช้แก้เลือดลมต่างๆ รักษาอาการหอบ หืด แก้ไอ แก้ปวดข้อ ปวดกระดูก แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ
- ดอกของผักแพวแดง ใช้ขับเหงื่อ รักษาอาการปวด
ในตำราจุลพิกัดจะมีคำเรียก "ผักแพวทั้งสอง" นั้นหมายถึง ผักแพวแดง และผักแพวขาว มีรสร้อน ดังนั้นจึงใช้แก้ธาตุพิการ ช่วยย่อยอาหาร แก้ปวดท้องได้ดี
- ใบของผักแพวแดง ใช้แก้เลือดลมต่างๆ รักษาอาการหอบ หืด แก้ไอ แก้ปวดข้อ ปวดกระดูก แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ
- ดอกของผักแพวแดง ใช้ขับเหงื่อ รักษาอาการปวด
ในตำราจุลพิกัดจะมีคำเรียก "ผักแพวทั้งสอง" นั้นหมายถึง ผักแพวแดง และผักแพวขาว มีรสร้อน ดังนั้นจึงใช้แก้ธาตุพิการ ช่วยย่อยอาหาร แก้ปวดท้องได้ดี