บุก
ชื่ออื่น :
บุกคุงคก
(ชลบุรี) เบีย เบือ (แม่ฮ่องสอน) มันซูรัน (ภาคดลาง) หัวบุก
(ปัตตานี) บุกคางคก (ภาคกลาง, เหนือ)
บุกหนาม บุกหลวง (แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amorphophallus
campanulatus Bl.ex Dence.(A.paeoniifolius
(Dennst.) Nicolson
ชื่อสามัญ :
Elephant yam, Stanley's
water-tub
ชื่อวงศ์ :
ARACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ใบบุก ใบบุกโผล่เดี่ยวขึ้นมาจากหัวบุก
ลักษณะคล้ายใบมะละกอ มีสีเขียวเข้ม บางชนิดมีก้านใย เป็นลวดลาย ทั้งลายเส้นตรง
ลายกระสลับสี ลายด่างสลับสี บางชนิดสีเขียวล้วน น้ำตาลล้วน บางชนิดมีหนามอ่อนๆ
เช่น บุกที่ชาวบ้านเรียกว่า บุกคางคก (A.
campanulatus) ก้านใบจะมีหนาม ทั้งชนิดก้านสีเขียว
เรียบและชนิดก้านเป็นลวดลายคล้ายคางคก บุกบางชนิด มีใบกว้าง
และมีจุดแบบไข่ปลาสีขาวด้านบน เป็นบุกชนิดที่มีหัวเล็กที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับบุกชนิดอื่นๆ
ลักษณะเด่นทั่วๆ ไป ใบมีก้านตรงจากกลาง หัวโผล่จากดินแล้วแผ่กางออก 3 ทาง มีรูปทรงแผ่กว้างแบบร่ม แต่บาง พันธุ์จะมีใบ 3 ทาง
ที่กางกลับขึ้นด้านบนเหมือนหงายร่ม บางชนิดมีใบกว้าง กางออกเป็นวงแคบ และลู่ลงต่ำ
ดังนั้นลักษณะทางพฤษศาสตร์ของใบบุก มีหลายรูปแบบขึ้นกับชนิดของบุก
ดอกบุก บุกมีดอกคล้ายต้นหน้าวัว
แต่ละชนิดมีขนาด สี และรูปทรงต่างกัน บางชนิดมีดอกใหญ่มาก โดยเฉพาะบุกคางคก ดอกบุกมีกลิ่นเหม็นเหมือนเนื้อสัตว์เน่า
บุกชนิดอื่นๆ มีดอกเล็กก้านดอกจะโผล่ขึ้นตรงจากกลางหัวบุก เช่นเดียวกับก้านใบ บุกมักจะมีดอกในช่วงปลายฤดูแล้ง
แต่บุกสามารถออกดอกได้ในช่วงเวลาต่างๆ กัน ระยะเวลาในการแก่เต็มที่ของดอกที่จะติดผลก็ต่างกัน
จึงต้องติดตามศึกษาการเกิดดอกและการติดผลของบุกแต่ละชนิดไป
ผลบุก หลังจากดอกผสมพันธุ์ก็จะเกิดผล
ผลอ่อนของบุกมีสีขาวอมเหลือง พออายุได้ 1-2
เดือน จะมีผลสีเขียวเข้ม มีจุดดำที่ปลายคล้ายผลกล้วย ผลของบุกส่วนใหญ่จะมีลักษณะคล้ายๆ
กัน แต่เมล็ดภายในแตกต่างกัน พบว่าบุกบางชนิดมีเมล็ดในกลม
แต่ส่วนมากมีเมล็ดเป็นรูปทรงอูมยาว ผลแก่ของบุกจะมีสีแดงหรือแดงส้ม บุกคางคกมีจำนวนผลนับได้เป็นพันๆในขณะที่บุกต้นเล็กชนิดอื่นมีจำนวนผลนับ
ร้อยเท่านั้น
ในประเทศไทย มีบุกอยู่หลายชนิดด้วยกัน นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ
Francois
Gagnepain ได้ทำการศึกษาและพบว่ามีอยู่อย่างน้อย 15 ชนิด
เป็นชนิดที่พบใหม่ หลายชนิด จึงได้ให้ชื่อทางพฤกษศาสตร์ตามสถานที่พบ เช่น บุกหัวช้าง A. koratensis Gagnep. พบที่โคราช, บุกรอ A. saraburiensis Gagnep. พบที่สระบุรี และบุกก้านโคยงัว A. xiengraiensis Gagnep. พบที่เชียงราย เป็นต้น
เท่าที่ได้มีการวิจัยหัวบุกในประเทศไทยจำนวน 7 พันธุ์ คือ บุกคางคก (บุกป่า) A. rex , บุกบ้าน A. campanulatus , บุกด่าง A. kerrii , บุกเขา A. corrugatus , บุก A. oncophyllus , บุกเตียง A. longituberosus และ A. rivieri พบว่ามีเพียง 4 ชนิด ที่มีสารสำคัญที่เป็นที่ต้องการทางการค้า คือ กลูโคแมนแนน (glucomannan) ได้แก่
1. บุก (A. oncophyllus Prain ex Hook.f.) เป็นบุกชนิดที่มีหัวเป็นบัลบิล (bulbil) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 ซม. ใบใหญ่ 1 เมตร ก้านใบยาว 90 ซม. หนา 2.5 ซม. ช่อดอกยาว 20 ซม. มีกาบหุ้ม บุกชนิดนี้มีความแตกต่างจากชนิดอื่นตรงที่รูปร่างของหัวมีลักษณะกลม-แบน มีรูตรงกลาง หัวสดมีสีเหลืองอมชมพู และขาวเหลือง นิ่มและฉ่ำน้ำ ก้านใบมีสีต่างๆคือ เขียว เขียวมีจุดขาว เขียวทางขาว และเขียวปนอมชมพู และมี บัลบิลบนใบ พันธุ์นี้มีปริมาณกลูโคแมนแนนสูงมาก พบทางตะวันตกของประเทศ เช่น กาญจนบุรี, กำแพงเพชร, ตาก และภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่และพะเยา
2. บุกด่าง (A. kerrii N.E. Br.) ก้านใบสีเขียวเข้มมีจุดขาว ยาว 1 เมตร ใบเป็นแฉกยาว 15 - 22 ซม. กว้าง 5 - 7 ซม. ช่อดอกยาว 15 - 30 ซม. กว้าง 7 - 11 ซม. บุกด่างจะต่างกับบุกชนิดอื่นที่รูปร่างของหัวซึ่งกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9.5 - 15 ซม. มีผิวขรุขระสีน้ำตาล เนื้อหัวสดมีสีเหลือง เหลืองสดหรือขาว พบแถบน่าน เชียงใหม่ เลย และกาญจนบุรี หรือที่มีระดับความสูง 1,200 - 1,500 ม. เหนือระดับน้ำทะเล พบมีกลูโคแมนแนน แต่น้อยกว่าในบุก (A.oncophyllus)
3. บุกเขา (A. corrugatus N.E. Br.) เป็นบุกที่ต่างจากพันธุ์อื่นตรงที่มีใบแยกเป็นหลายส่วน โดยมากมี 7 ส่วน สีน้ำเงินอมเขียว ขอบใบสีชมพู กาบหุ้มช่อดอกเป็นรูปกระดิ่งยาว 7 - 17 ซม. กว้าง 3 - 7 ซม. เมื่อยังอ่อนอยู่จะมีกลูโคแมนแนน
4. บุก (A. rivieri Durien) เป็นบุกพันธุ์เดียวกับที่ใช้ในญี่ปุ่น
เป็นชนิดที่พบใหม่ หลายชนิด จึงได้ให้ชื่อทางพฤกษศาสตร์ตามสถานที่พบ เช่น บุกหัวช้าง A. koratensis Gagnep. พบที่โคราช, บุกรอ A. saraburiensis Gagnep. พบที่สระบุรี และบุกก้านโคยงัว A. xiengraiensis Gagnep. พบที่เชียงราย เป็นต้น
เท่าที่ได้มีการวิจัยหัวบุกในประเทศไทยจำนวน 7 พันธุ์ คือ บุกคางคก (บุกป่า) A. rex , บุกบ้าน A. campanulatus , บุกด่าง A. kerrii , บุกเขา A. corrugatus , บุก A. oncophyllus , บุกเตียง A. longituberosus และ A. rivieri พบว่ามีเพียง 4 ชนิด ที่มีสารสำคัญที่เป็นที่ต้องการทางการค้า คือ กลูโคแมนแนน (glucomannan) ได้แก่
1. บุก (A. oncophyllus Prain ex Hook.f.) เป็นบุกชนิดที่มีหัวเป็นบัลบิล (bulbil) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 ซม. ใบใหญ่ 1 เมตร ก้านใบยาว 90 ซม. หนา 2.5 ซม. ช่อดอกยาว 20 ซม. มีกาบหุ้ม บุกชนิดนี้มีความแตกต่างจากชนิดอื่นตรงที่รูปร่างของหัวมีลักษณะกลม-แบน มีรูตรงกลาง หัวสดมีสีเหลืองอมชมพู และขาวเหลือง นิ่มและฉ่ำน้ำ ก้านใบมีสีต่างๆคือ เขียว เขียวมีจุดขาว เขียวทางขาว และเขียวปนอมชมพู และมี บัลบิลบนใบ พันธุ์นี้มีปริมาณกลูโคแมนแนนสูงมาก พบทางตะวันตกของประเทศ เช่น กาญจนบุรี, กำแพงเพชร, ตาก และภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่และพะเยา
2. บุกด่าง (A. kerrii N.E. Br.) ก้านใบสีเขียวเข้มมีจุดขาว ยาว 1 เมตร ใบเป็นแฉกยาว 15 - 22 ซม. กว้าง 5 - 7 ซม. ช่อดอกยาว 15 - 30 ซม. กว้าง 7 - 11 ซม. บุกด่างจะต่างกับบุกชนิดอื่นที่รูปร่างของหัวซึ่งกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9.5 - 15 ซม. มีผิวขรุขระสีน้ำตาล เนื้อหัวสดมีสีเหลือง เหลืองสดหรือขาว พบแถบน่าน เชียงใหม่ เลย และกาญจนบุรี หรือที่มีระดับความสูง 1,200 - 1,500 ม. เหนือระดับน้ำทะเล พบมีกลูโคแมนแนน แต่น้อยกว่าในบุก (A.oncophyllus)
3. บุกเขา (A. corrugatus N.E. Br.) เป็นบุกที่ต่างจากพันธุ์อื่นตรงที่มีใบแยกเป็นหลายส่วน โดยมากมี 7 ส่วน สีน้ำเงินอมเขียว ขอบใบสีชมพู กาบหุ้มช่อดอกเป็นรูปกระดิ่งยาว 7 - 17 ซม. กว้าง 3 - 7 ซม. เมื่อยังอ่อนอยู่จะมีกลูโคแมนแนน
4. บุก (A. rivieri Durien) เป็นบุกพันธุ์เดียวกับที่ใช้ในญี่ปุ่น
ส่วนที่ใช้ : เนื้อจากลำต้นใต้ดิน หัว
สรรพคุณทางสมุนไพร
หัวบุกมีสารสำคัญ คือกลูโคแมนแนน เป็นสารประเภท
คาร์โบไฮเดรท ซึ่งประกอบด้วย กลูโคลส แมนโนส และฟลุคโตส กลูโคแมนแนน
สามารถลดปริมาณน้ำตาลในเลือดได้ ก็เนื่องจากความเหนี่ยว
ซึ่งยับยั้งการดูดซึมของกลูโคลสจากทางเดินอาหาร
ยิ่งหนืดมาก็ยิ่งมีผลลดการดูดซึมกลูโคลส ดังนั้น กลูโคแมนแนน ซึ่งเหนียวกว่า gua
gum จึงลดน้ำตาลได้ดีกว่า
จึงใช้แป้งเป็นวุ้นเป็นอาหารสำหรับผู้ป่ายโรคเบาหวาน
สำหรับผู้ป่วยเป็นโรคมีไขมันในเลือดสูง สารสำคัญ
มีการศึกษา และค้นพบสารสำคัญในพืชสกุลบุก คือ กลูโคแมนแนน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 กลูโคแมนแนนเป็นสารประกอบคาร์โบไฮเดรต ซึ่งประกอบด้วยกลูโคส แมนโนส และฟรุคโตส มีผู้พบว่าอัตราส่วนของแมนแนน : กลูโคส = 2 : 1 มีการเชื่อมต่อของน้ำตาลเป็น b-D type เมื่อทดลองย่อยกลูโคแมนแนนด้วยเอ็นซัยม์ cellulase จะได้ กลูโคส-แมนโนส (1 : 1.6) เซลโลไบโอส อิพิเซลโลไบโอส และอิพิเซลโลไบโอซีลแมนโนส และถ้าทดลองย่อยด้วยเอ็นซัยม์ b-mannase จะได้ไดแซคคาไรด์ 13 ชนิด และโอลิโกแซคคาไรด์ นอกจากนี้ยังมีการพบเอ็นซัมย์ b-mannase I และ II จากบุกด้วย
ประโยชน์ของกลูโคแมนแนน
กลูโคแมนแนน จากบุกมีพลังงานต่ำ จึงใช้เป็นอาหารของผู้ต้องการลดความอ้วน และยังมีประโยชน์ในการช่วยบำบัดรักษา และบรรเทาอาการของโรคบางชนิดด้วย เช่น โรคไขมันในเลือดสูง น้ำตาลในเลือดสูง และไขข้ออักเสบ เป็นต้น นอกจากประโยชน์ทางด้านอาหารและยาแล้ว กลูโคแมนแนนจากบุกยังถูกนำไปใช้ผลิตโลชั่นบำรุงผิว และยาเม็ดชนิด sustained release ด้วย
ผลการทดลองทางเภสัชวิทยา
ทดลองให้หนู ขาวกินอาหารผสมผงบุก 5 % พบว่ามีผลทำให้ปริมาณโคเลสเตอรอลในเลือดและตับลดลง และเมื่อทดลองในหนูขาวที่กินอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง ก็พบว่ามีผลลดปริมาณ โคเลสเตอรอลในเลือดและตับเช่นกัน
ทดลองให้หนูขาวและลิงบาบูนกินอาหาร ซึ่งผสมกลูโคแมนแนนเจล 5 % พบว่าโคเลศเตอ รอลในเลือดลดลงโดย HDL (high density lipoprotein) ไม่ลด และโคเลสเตอรอลในตับ รวมถึงปริมาณไขมันทั้งหมดก็ลดลงด้วย
จากการทดลอง ทางคลินิกทั้งในคนปกติและคนไข้โรคเบาหวาน เมื่อให้รับประทานกลูโคแมนแนนจากบุก พบว่าปริมาณน้ำตาลและอินซูลินในเลือดลดลง การที่กลูโคแมนแนนสามารถลดปริมาณน้ำตาลในเลือดได้ เนื่องจากความเหนียวของกลูโคแมนแนนไปยับยั้งการดูดซึมกลูโคสจากทางเดินอาหาร และยิ่งมีความหนืดมาก ก็ยิ่งมีผลการดูดซึมกลูโคสมากขึ้น จากผลการทดลองพบว่ากลูโคแมนแนนมีผลทำให้การดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น วิตามินอี ลดลง แต่ไม่มีผลต่อการดูดซึมวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ เช่น วิตามินบีสิบสอง