Social Icons

เพกา




เพกา

ชื่อวิทยาศาสตร์   Oroxylum indicum  (L.) Kurz
ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree
วงศ์  Bignoniaceae
ชื่ออื่น :  มะลิดไม้ มะลิ้นไม้ ลิดไม้ (เหนือ) ลิ้นฟ้า (อีสาน) หมากลิ้นก้าง หมากลิ้นซ้าง (ฉาน-เหนือ) แบกอ (ยาวี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้น สูง 3-12 เมตรแตกกิ่งก้านน้อย ใบประกอบแบบขนนกสามชั้น ขนาดใหญ่ เรียงตรงข้ามรวมกันอยู่บริเวณปลายกิ่ง ใบย่อยรูปไข่หรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 4-8 ซม. ยาว 6-12 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายยอดก้านช่อดอกยาว ดอกย่อยขนาดใหญ่กลีบดอกสีนวลแกมเขียว โคนกลีบเป็นหลอดสีม่วงแดง หนาย่น บานกลางคืน ผลเป็นฝัก รูปดาบ เมื่อแก่จะแตก ภายในเมล็ดแบน สีขาว มีปีกบางโปร่งแสง
ส่วนที่ใช้ : ราก เปลือกต้น ฝักอ่อน เมล็ด

สรรพคุณทางสมุนไพร
  • ราก 
    -
      มีรสฝาดเย็น ขมเล็กน้อย ใช้บำรุงธาตุ ทำให้เกอดน้ำย่อยอาหาร เจริญอาหาร
    -   แก้ท้องร่วง แก้บิด แก้ไข้สันนิบาต
    -   ใช้ภายนอก รากฝนกับน้ำปูนใส ทาแก้อาการอักเสบ ฟกบวม
  • เพกาทั้ง 5  -  คือการใช้ส่วนราก ใบ ดอก ผล ต้น รวมกันจะมีรสฝาดเย็น มีสรรพคุณสมานแผล แก้อักเสบบวม แก้ท้องร่วง บำรุงธาตุ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ไข้เพื่อลม เพื่อเลือด
  • ฝักอ่อน  - รับประทานเป็นผัก ช่วยในการขับผายลม บำรุงธาตุ
  • เมล็ด  - ใช้เป็นยาถ่าย เมล็ดแก่ใช้เป็นยาระบาย แก้ไอ ขับเสมหะ
  • เปลือกต้น -รสฝาดเย็น และขมเล็กน้อย เป็นยาสมานแผล ทำน้ำเหลืองให้เป็นปกติ ขับน้ำเหลืองเสีย ขับเลือดดับพิษโลหิต บำรุงโลหิต แก้เสมหะจุกคอ ขับเสมหะ แก้บิด แก้อาการจุกเสียด
  • เปลือกต้นตำผสมกับสุรา
    -     ใช้เป็นยากวาดประซะพิษซางเด็กชนิดเม็ดเหลือง
    -      แก้ละองขึ้นในปาก คอลิ้น แก้ละอองไข้
    -     ใช้ฉีดพ่นตามตัวคนคลอดบุตรที่ทนการอยู่ไฟไม่ได้ ทำให้ผิวหนังชา
    -     ทารอบ ๆ ฝี แก้ปวดฝีทาแก้อาการฟกบวมอักเสบ
  • ปลือกต้นสดตำผสมกับน้ำส้ม  ซึ่งได้จากรังมดแดงหรือเกลือสินเธาว์
    -    รับประทานขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด แก้บิด แก้อาเจียนไม่หยุด
    -    รับประทานแก้เสมหะจุกคอ (ขับเสมหะ) ขับเลือดเน่าในเรือนไฟ บำรุงโลหิต
    นอกจากนี้เปลือกเพกา ใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่น แก้เบาหวาน แก้โรคมานน้ำ เปลือกต้มรวมกับสมุนไพรหลายชนิด แยกเอาน้ำมันมาทาแก้

    -     แก้องคสูตร
    -    แก้ริดสีดวงทวารหนัก ทวารเบา
    -    แก้ฟกบวม แก้คัน
สารเคมี
            ราก      มี D-Galatose, Baicalein, Sitosterols
            แก่น     มี Prunetin, B- sitosterols
            ใบ        มี Aloe emodin
            เปลือก  มี  Baicalein, Chrysin, 6-Methylbaicalein

นิทานสอนเด็ก นิทานอีสป นิทานก่อนนอน

สถิติการเข้าชม