Social Icons

มะพอก

มะพอก
ชื่ออื่น กระท้อนลอก (ตราด) จัด จั๊ด (ลำปาง) ท่าลอก (พล นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์) ประดงไฟ ประดงเลือด (ราชบุรี) พอก (อุบลราชธานี) มะคลอก (สท อุตรดิตถ์) มะมื่อ หมักมื่อ (เหนือ) หมักมอก (พล) หมากรอก (ประจวบคีรีขันธ์) ตะลอก
ชื่อวิทยาศาสตร์  Parinari anamensis Hance.
ชื่อวงศ์  Chrysobalanaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
    
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูงถึง 30 เมตร เปลือกต้นหนา สีน้ำตาลเทา แตกเป็นร่องลึก ลอกหลุดได้ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ หรือรูปวงรี กว้าง 4-6 เซนติเมตร ยาว 6-15 เซนติเมตร ฐานมน หน้าใบเขียว ท้องใบเหลือบขาวเด่นชัด และมีขนละเอียด  มีขนละเอียดด้านล่างสีขาวแกมน้ำตาล ขอบใบเรียบ ปลายใบมนหยักคอดและมีติ่งแหลม เส้นใบข้างตรงและขนานกัน 12-15 คู่ เส้นใบนูนด้านบน ก้านใบยาว 0.7-1 เซนติเมตร มักจะมีต่อมเล็กๆ 2 ต่อม ดอกสีขาว ออกเป็นช่อ ที่ปลายกิ่ง ยาว 20 เซนติเมตร ก้านช่อมีขนสีน้ำตาลอมส้มหนาแน่น กลีบดอกมี 5 กลีบ ยาวเท่ากับกลีบเลี้ยง เกสรตัวผู้ 5-12 อัน มีขนาดไม่เท่ากัน ก้านเกสรตัวเมียติดที่ฐานของรังไข่ ยาวเท่าๆกับเกสรตัวผู้ รังไข่มีขนหนาแน่น เชื่อมกับชั้นกลีบเลี้ยงด้านหนึ่ง ชั้นกลีบเลี้ยง มี 5 กลีบ ไม่เท่ากัน ขนาดประมาณ 0.3-0.4 เซนติเมตร สีขาวปนเหลือง ผลสด กลมรีเหมือนไข่ หรือรูปกระสวย ขนาดประมาณ 3-4 เซนติเมตร มีสีน้ำตาล มีเกล็ดสีเทาปกคลุม ผิวฉ่ำน้ำเนื้อชุ่มบาง ชั้นในมีขนหนาแน่น เมล็ดเดี่ยวโต แข็ง ผลจะแก่ประมาณเดือนมกราคม ถึงกุมภาพันธ์ เนื้อของผลสุกรอบๆเมล็ด มีรสหวานหอม รับประทานได้ เนื้อข้างในเมล็ดรับประทานได้มีรสมันคล้ายถั่ว เมื่อกะเทาะเปลือกหุ้มเมล็ดจะพบเมล็ดข้างในมีปุยสีน้ำตาลคล้ายปุยฝ้ายหุ้มเมล็ดอยู่ กระรอก กระแต ชอบกินเมล็ดใน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด พบทั่วไปในป่าดิบ ป่าผลัดใบ ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ออกดอกช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน

สรรพคุณทางสมุนไพร    

แก่น ต้มน้ำดื่ม และอาบแก้ประดง (อาการโรคผิวหนัง เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด คันมากมักมีไข้ร่วมด้วย) แก้ผื่นคันแดงทั่วตัว ปวดแสบร้อน มีน้ำเหลืองไหลซึม
ยาพื้นบ้าน  ใช้  แก่น ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่มแก้หืด เปลือกต้น ประคบแก้ ช้ำใน แก้ปวดบวม เปลือกต้น อุ่นไอน้ำร้อนประคบแก้ฟกช้ำ แก่น ต้มน้ำอาบ รักษาโรคประดง ผดผื่นคัน เมล็ด สกัดน้ำมันใช้เป็นน้ำมันหมึกพิมพ์และน้ำมันหล่อลื่น

นิทานสอนเด็ก นิทานอีสป นิทานก่อนนอน

สถิติการเข้าชม